ชื่อเรื่อง | : | ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตภาคใต้ตอนล่าง |
นักวิจัย | : | จินตนา บัวทองจันทร์ |
คำค้น | : | การหายใจลำบาก , ปอด -- โรค |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุนิดา ปรีชาวงษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741423322 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9147 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อน และหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง และเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 35-59 ปี ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด 40 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุมก่อนจนครบ 20 ราย แล้วจึงดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลองอีก 20 ราย กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุ ระดับความรุนแรงของโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองที่พัฒนามาจากแนวคิดการจัดการตนเอง และเทคนิคการกำกับตนเองประกอบไปด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ผู้ป่วยประเมินปัญหาตนเอง ระยะที่ 2 วางแผนการปฏิบัติ และพัฒนาทักษะ ระยะที่ 3 เป็นการติดตามผลการกำกับตนเองตามเป้าหมาย เครื่องมือที่ในการวิจัยประกอบด้วย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดอาการหายใจลำบาก Modified Borg's scale 2. เครื่องมือดำเนินการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเองที่พัฒนามาจากแนวคิดการจัดการตนเอง และเทคนิคการกำกับตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติทดสอบที (Independent t-test และ Paired t-test) ผลการวิจัย 1. อาการหายใจลำบากของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ([mean] [subscript ก่อนการทดลอง] = 7.25, [mean][subscript หลังการทดลอง]=5.70, t=6.307, p<.05) 2. อาการหายใจลำบากภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ([mean] [subscript กลุ่มควบคุม] = 7.60, [mean][subscript กลุ่มทดลอง] = 5.70, t = 3.80, p<.001) |
บรรณานุกรม | : |
จินตนา บัวทองจันทร์ . (2548). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตภาคใต้ตอนล่าง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จินตนา บัวทองจันทร์ . 2548. "ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตภาคใต้ตอนล่าง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จินตนา บัวทองจันทร์ . "ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตภาคใต้ตอนล่าง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. จินตนา บัวทองจันทร์ . ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตภาคใต้ตอนล่าง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|