ชื่อเรื่อง | : | ชลภาพน้ำฝน-น้ำท่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | พัชรศักดิ์ อาลัย |
คำค้น | : | น้ำท่า -- ไทย -- กรุงเทพฯ , ฝน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ทวนทัน กิจไพศาลสกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741311222 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8984 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 งานวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก เป็นการทบทวนงานวัด และการวัดข้อมูลอุทกวิทยาภาคสนาม โดยทำการติดตามทบทวนงานวัดข้อมูลอุทกวิทยาของกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2543 ในพื้นที่เขต บางกะปิ บึงกุ่ม และหนองแขม และได้ทำการคัดเลือกเหตุการณ์ฝน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 132 เหตุการณ์ โดยมีความลึกฝน อยู่ในช่วง 20-106.5 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 60 นาที และการวัดข้อมูลภาคสนามได้ทำการวัดข้อมูลน้ำฝน และน้ำท่า ช่วงเดือน สิงหาคม-ตุลาคม ในพื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่เขตคันนายาว ในส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ส่วนย่อยแรก เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนโดยทำการวิเคราะห์หาค่า r และเปรียบเทียบชลภาพฝนจริงกับชลภาพฝนออกแบบ ส่วนย่อยสองเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน และน้ำท่าโดยทำการวิเคราะห์ค่าเวลาในการรวมตัวของน้ำฝนที่จุดออก t[subscript c] การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์น้ำท่า (C) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบชลภาพน้ำท่าผิวดินจริงกับชลภาพน้ำท่าผิวดินที่คำนวณได้โดยวิธีต่างๆ จากการศึกษสามารถสรุปได้ว่า (1) เครื่องมือวัดน้ำฝน ระดับน้ำและอัตราการไหลเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องตามเวลา โดยเครื่องมือวัดบางส่วนสามารถบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะนำไปประมวลผลโดยเครื่องคอมผิวเตอร์ต่อไป (2) การวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (2.1) การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนพบว่าค่า r ในช่วงเวลา 30 นาทีมีค่าอยู่ในช่วง 0.29-0.48 และในช่วงเวลา 60 นาทีมีค่าอยู่ในช่วง 0.27-0.42 ในส่วนของชลภาพฝนพบว่า วิธี Kiefer and Chu ให้ผลการคำนวณความเข้มฝนสูงสุดใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด และวิธี Yen and Chow ให้ผลการคำนวณรูปร่างของชลภาพน้ำฝนใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด (2.2) การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน และน้ำท่าพบว่า ค่า t[subscript c] ที่คำนวณโดยใช้สมการถดถอยสหสัมพันธ์ให้ผลการคำนวณได้ใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด และสูตรของ Kirpich ให้ผลการคำนวณใกล้เคียงในลำดับต่อมา ในส่วนของการวิเคราะห์ค่า C พบว่าวิธีคำนวณค่า C จากสมการ Q = CiA โดยกำหนด i จาก t[subscript c] จะให้ผลการคำนวณอัตราการไหลสูงสุดใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากที่สุด และจากการเปรียบเทียบวิธีการคำนวณชลภาพน้ำท่าผิวดินพบว่า วิธีชลภาพหนึ่งหน่วยน้ำท่าเฉลี่ยให้ผลการคำนวณชลภาพน้ำท่าผิวดินได้ใกล้เคียงกับชลภาพน้ำท่าผิวดินจริงทั้งอัตราการไหลสูงสุดและรูปร่างของชลภาพน้ำท่าผิวดินจริงมากที่สุด จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ในการวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่างๆ ทางอุทกวิทยาเพื่อใช้เป็นค่าพารามิเตอร์มาตรฐานสำหรับพื้นที่ศึกษาจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอุทกวิทยาที่มีการวัดข้อมูลเป็นช่วงระยะเวลายาว และต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวัดข้อมูลในครั้งนี้เป็นการวัดในช่วงเวลาสั้น ดังนั้นจึงเสนอว่าในการวัดข้อมูลทางอุทกวิทยาครั้งต่อไปควรมีการวัดข้อมูลในช่วงระยะเวลายาว และต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์มาตรฐานทางอุทกวิทยาสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
พัชรศักดิ์ อาลัย . (2543). ชลภาพน้ำฝน-น้ำท่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชรศักดิ์ อาลัย . 2543. "ชลภาพน้ำฝน-น้ำท่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชรศักดิ์ อาลัย . "ชลภาพน้ำฝน-น้ำท่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. พัชรศักดิ์ อาลัย . ชลภาพน้ำฝน-น้ำท่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|