ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมพอร์ซเลนบล็อกที่ขัดด้วยวิธีต่างๆ |
นักวิจัย | : | สิริเนตร วิชชุชาญ |
คำค้น | : | ความหยาบผิว , ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบและการผลิต , พอร์ซเลนทางทันตกรรม , ทันตกรรมประดิษฐ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อิศราวัลย์ บุญศิริ , ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741744307 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8845 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีแคดแคมเข้ามาใช้ในทางทันตกรรม เพื่อสร้างชิ้นงานบูรณะในช่องปากให้เสร็จในหนึ่งครั้งการรักษาแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะชิ้นงานเฟล์ดสปาติกพอร์ซเลนและพอร์ซเลนที่เพิ่มความเข็งแรงด้วยลูไซต์ ซึ่งจะเป็นต้องยึดติดในช่องปากเพื่อเพิ่มความแข็งแรงก่อนการแก้ไขจุดสบและขัดแต่ง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมพอร์ซเลนบล็อก 2 ชนิด วีต้ามาร์คทูบล็อกและโปรแคดปล็อกชนิดละ 50 ชิ้นตัวอย่าง จากการขัดด้วยวิธีขัดแบบต่างๆ เทียบกับการเคลือบทับ โดยขั้นแรกนำพอร์ซเลนทั้ง 2 ชนิดมาปรับสภาพผิวให้เหมือนกับการกลึงจากเครื่องซีเรค ด้วยการกรอด้วยเข็มกรอกากเพชรขนาด 50 ไมโครเมตร ด้วยความเร็ว 40,000 รอบ/นาที แล้วนำมาวัดค่าความขรุขระพื้นผิว (Ra) เป็นค่าความขรุขระก่อนการขัด หลังจากนั้นกรอแต่งผิวพอร์ซเลนทั้ง 2 ชนิดด้วยเข็มกรอกากเพชรขนาด 40 ไมโครเมตรและ 15 ไมโครเมตรตามลำดับเป็นเวลา 20 วินาที เพื่อเตรียมผิวให้เหมือนการแก้ไขในช่องปากแล้วจึงแบ่งกลุ่มพอร์ซเลน 50 ชิ้นตัวอย่างเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ชิ้นตัวอย่าง กลุ่ม 1-3 ขัดด้วยหัวขัดยางซิลิโคนโซฟุ กลุ่ม 4-6ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปแผ่นกลม กลุ่ม 7-9 ขัดด้วยหัวขัดยางแอสโทรโพลด้วยเวลา 30 60 และ 120 วินามีตามลำดับ และกลุ่มที่ 10 ทำการเคลือบทับ แล้วนำมาวัดค่า Ra นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและสองทาง เปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยบอนเฟอโรนีและแทมเฮน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%พบว่าค่าความขรุขระพื้นผิวพอร์ซเลนก่อนการขัดด้วยวิธีต่างๆ สูงกว่าผิวพอร์ซเลนที่ผ่านการขัดอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับพอร์ซเลนทั้งสองชนิดพบว่า กลุ่มที่ขัดด้วยหัวขัดกระดาษทรายรูปแผ่นกลม ให้ผิวเรียบที่สุดแตกต่างกับกลุ่มหัวขัดยางซิลิโคนโชฟุ และกลุ่มหัวขัดยางแอสโทรโพล อย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มเคลือบทับยกเว้นกลุ่ม 4 ของพอร์ซเลนที่เพิ่มความแข็งแรงด้วยลูไซต์ พบว่าให้ผิวที่เรียบกว่าการเคลือบทับอย่างมีนัยสำคัญ |
บรรณานุกรม | : |
สิริเนตร วิชชุชาญ . (2548). การเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมพอร์ซเลนบล็อกที่ขัดด้วยวิธีต่างๆ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริเนตร วิชชุชาญ . 2548. "การเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมพอร์ซเลนบล็อกที่ขัดด้วยวิธีต่างๆ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริเนตร วิชชุชาญ . "การเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมพอร์ซเลนบล็อกที่ขัดด้วยวิธีต่างๆ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. สิริเนตร วิชชุชาญ . การเปรียบเทียบความเรียบผิวของแคดแคมพอร์ซเลนบล็อกที่ขัดด้วยวิธีต่างๆ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|