ชื่อเรื่อง | : | การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ |
นักวิจัย | : | พัทธวรรณ ละโป้ |
คำค้น | : | ผู้สูงอายุ , การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดรุณวรรณ สุขสม , สุทธิลักษณ์ ปทุมราช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8411 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่น เป็นนวัตกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านด้วยการใช้อุปกรณ์ไม้ยืดหยุ่น ที่เป็นไม้ไผ่ยาว 15 ซม. 2 ท่อน เชื่อมต่อด้วยหนังยางที่ร้อยต่อกันยาวประมาณช่วงไหล่ของผู้ออกกำลังกาย 2 เส้น ถูกคิดค้นขึ้นโดย ดร. ดรุณวรรณ สุขสมและคณะ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นที่สร้างขึ้นต่อสุขสมรรถนะ และการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสในผู้สูงอายุ รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุที่สร้างขึ้นนี้ มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่องประยุกต์มาจากวัฒนธรรมไทย ได้แก่ รำไทย และรำกระบี่กระบอง สอดคล้องกับเพลงประกอบการออกกำลังกายที่เป็นเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทย ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ไม้ยืดหยุ่นที่มีการคิดค้นท่าทางให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยสามารถออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย ท่าออกกำลังกายมีทั้งหมด 83 ท่า รวมท่าอบอุ่นร่างกาย 13 ท่า และท่าผ่อนคลาย 13 ท่า ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาที่ระดับมาก รูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีความเที่ยง โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายช่วงความหนักสูงสุด 2 ครั้ง พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ทดลองออกกำลังกายอยู่ในระดับดีมาก การออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีการใช้ออกซิเจน ประมาณ 14.5 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที ถือว่าเป็นการออกกำลังกายความหนักระดับปานกลาง นำรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นที่สร้างขึ้นมาฝึกในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุของศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง อายุเฉลี่ย 70.29+-2.51 ปี เพศหญิง จำนวน 17 คน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 4 วันๆ ละ 40 นาที ก่อนและหลังการออกกำลังกาย วัดตัวแปรทางสรีรวิทยาทั่วไป สุขสมรรถนะ และการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียส นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์หา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึกออกกำลังกาย โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair-t test) ภายหลังการฝึกการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่น 12 สัปดาห์ พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิต และเปอร์เซ็นต์ไขมันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด และสัดส่วนการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสสูงสุดหลังการปิดกั้นการไหลของเลือดต่อการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสขณะพักมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ระดับพลาสมาลอนไดอัลดีไฮด์ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การทำลายของอนุมูลอิสระ และคอลเลสเตอรอลมีค่าลดต่ำลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในการเพิ่มสุขสมรรถนะ และชะลอความเสื่อมของเซลล์บุผนังหลอดเลือด โดยการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นมีผลช่วยลดไขมัน และอนุมูลอิสระในร่างกายของผู้สูงอายุ |
บรรณานุกรม | : |
พัทธวรรณ ละโป้ . (2549). การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัทธวรรณ ละโป้ . 2549. "การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัทธวรรณ ละโป้ . "การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. พัทธวรรณ ละโป้ . การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|