ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ยาชาเฉพาะที่ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงเทียบกับวิธีฉีดแบบละอองฝอยผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ |
นักวิจัย | : | วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย |
คำค้น | : | ยาระงับความรู้สึก , การส่องกล้องตรวจหลอดลม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ฉันชาย สิทธิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745327735 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8356 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การศึกษาไปข้างหน้าเชิงทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและปริมาณลิโดเคน ที่ใช้ในการส่องกล้องตรวจหลอดลมระหว่างวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงอันเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน เทียบกับฉีดผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ โดยวัดผลเป็นปริมาณลิโดเคนที่ใช้ เวลาที่ใช้ในการตรวจ อัตราการไอ ของผู้ป่วยในช่วงตั้งแต่เห็นกล่องเสียงจนกระทั่งถึงตัวก้อนหรือกลีบปอดที่มีก้อนอยู่ โดยไม่นับรวมช่วงทำ หัตถการเพื่อการวินิจฉัยหลังจากนั้น วัดระดับความรู้สึกระคายเคืองของผู้ป่วยและระดับความยากง่ายใน การตรวจของแพทย์โดยการตอบแบบสอบถามหลังจากการตรวจวินิจฉัยเสร็จสิ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา นี้เป็นผู้ป่วยที่มีก้อนเดี่ยวในปอดและเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้องตรวจหลอดลมที่หน่วย โรคปอด ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ผลการศึกษาพบว่าปริมาณลิโดเคนที่ใช้ในกลุ่มที่ให้ผ่านกล้องและกลุ่มที่ให้ผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ = 50.38 + และ - 26.30 และ 6.81 + และ - 2.30 มิลลิกรัมตามลำดับ (P = 0.01) เวลาที่ใช้ในการตรวจ = 3.80 + และ - 1.51 และ 3.52 + และ - 1.08 นาที (P = 0.08) อัตราการไอของผู้ป่วย = 3.47 +และ - 2.2 และ 3.24 + และ - 1.72 ครั้งต่อนาที (P = 0.22) ระดับความรู้สึกระคายเคืองของผู้ป่วย = 3.77 + และ - 1.03 และ 3.27 -+ 1.12 (P = 0.14) ระดับความยากง่ายในการตรวจของแพทย์ = 2.31 + และ - 0.74 และ 2.00 + และ - 0.75 (P = 0.11) การศึกษานี้สรุปได้ว่าการให้ยาชาลิโดเคนผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ขณะส่องกล้องตรวจหลอดลมปอดใช้ ปริมาณลิโดเคนน้อยกว่า แต่เวลาที่ใช้ในการตรวจ อัตราการไอของผู้ป่วย ระดับความรู้สึกระคายเคือง ของผู้ป่วย ระดับความยากง่ายในการตรวจของแพทย์ไม่แตกต่างจากการให้ยาผ่านกล้องโดยตรง |
บรรณานุกรม | : |
วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย . (2548). การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ยาชาเฉพาะที่ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงเทียบกับวิธีฉีดแบบละอองฝอยผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย . 2548. "การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ยาชาเฉพาะที่ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงเทียบกับวิธีฉีดแบบละอองฝอยผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย . "การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ยาชาเฉพาะที่ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงเทียบกับวิธีฉีดแบบละอองฝอยผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย . การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ยาชาเฉพาะที่ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงเทียบกับวิธีฉีดแบบละอองฝอยผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|