ชื่อเรื่อง | : | ความสามารถของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายแอนทราซีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น |
นักวิจัย | : | พจนีย์ จันทมาลี |
คำค้น | : | การย่อยสลายทางชีวภาพ , แอนทราซีน , โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน , แบคทีเรีย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กาญจนา จันทองจีน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743465421 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6906 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยาศาสตร์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาศาสตร์, 2543 แบคทีเรียสายพันธุ์ ANT1 ซึ่งคัดแยกได้จากตัวอย่างดินที่ปนเปื้อนด้วยน้ำมันเครื่อง สามารถย่อยสลายแอนทราซีนเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งพลังงานได้ จากการจำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาร่วมกับผลการวิเคราะห์ลำดับเบสของ 16 เอส-ไรโบโซมัลดีเอ็น-เอ บ่งชี้ว่าจัดอยู่ในสกุล Sphingomonas และให้ชื่อว่า Sphingomonas sp. สายพันธุ์ ANT1 เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถย่อยสลายพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนอื่นได้อีกหลายชนิด คือ ไดเบนโซฟู-แรน ฟลูออรีน แนพธาลีน ฟีแนนทรีน โดยพบการเปลี่ยนสีของอาหารเหลวที่มีสารประกอบเหล่านี้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเลี้ยงเชื้อ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ ANT1 เพิ่มจำนวนได้สูงสุดในอาหารเหลวที่มีฟีแนนทรีน 100 มก.ต่อลิตร ทำให้ฟีแนนทรีนมีปริมาณลดลงเหลือในปริมาณที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟีหลังการเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนอาหารเหลวที่มีไดเบนโซฟูแรนเข้มข้น 300 มก.ต่อลิตร แบคทีเรียสายพันธุ์นี้สามารถทำให้ไดเบนโซฟู-แรนลดลงเหลือ 146.78 มก.ต่อลิตร ภายหลังการเลี้ยงเชื้อ 7 วัน ในการเลี้ยงแบคทีเรียในอาหารเหลวที่มีแอนทราซีนพบว่าแบคทีเรียนี้มีอัตราการเจริญลดลงภายหลัง 48 ชั่วโมง จาการวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีแบบแผ่นบาง (analytical TLC) พบว่ามีการสะสมของสารมัธยันต์ปริมาณมากที่สุดในวันที่ 3 ของการเลี้ยงเชื้อ จึงได้สกัดแยกสารมัธยันต์ด้วยเอทธิลอะซีเตตและทำให้สารบริสุทธิ์ขึ้นโดยใช้โครมาโตกราฟีแบบแผ่นบางชนิดเตรียมสาร (preparative TLC) แล้วนำมาพิสูจน์เอกลักษณ์โดยการวิเคราะห์แมสสเปกตรัมและสเปกตรัมของโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ พบว่าสารชนิดนี้คือ กรด 2-ไฮดรอกซี-3-แนพโธอิก เมื่อทดสอบความเป็นพิษของสารมัธยันต์นี้เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรด 2-ไฮดรอกซี-3-แนพ-โธอิก พบว่าสารมาตรฐานและสารมัธยันต์ให้ผลทดสอบเช่นเดียวกันคือมีผลยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวเชื้อเองและ Rhizobium sp. สายพันธุ์ CU-A1 แต่มีผลน้อยมากต่อรูปแบบการเจริญของ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 ซึ่งเป็น Sphingomonas ที่แยกได้จากแหล่งต่ากัน นอกจากนี้เมื่อเลี้ยงเชื้อในภาวะที่เติมฟลูออรีนก็ทำให้เซลที่มีชีวิตของแบคทีเรียนี้ลดจำนวนลงเช่นเดียวกัน จากการสกัดแยกสารมัธยันต์ที่เกิดขึ้นและทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแผ่นบางชนิดเตรียมสารพบว่าสารมัธยันต์ที่สร้างขึ้นนี้มีผลยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวเชื้อเอง |
บรรณานุกรม | : |
พจนีย์ จันทมาลี . (2543). ความสามารถของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายแอนทราซีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พจนีย์ จันทมาลี . 2543. "ความสามารถของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายแอนทราซีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พจนีย์ จันทมาลี . "ความสามารถของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายแอนทราซีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. พจนีย์ จันทมาลี . ความสามารถของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายแอนทราซีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|