ชื่อเรื่อง | : | การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทางการยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายใน โดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์ |
นักวิจัย | : | กำธร สิมมามี |
คำค้น | : | กระดูกหัก -- การรักษา , ระบบการสร้างภาพทางการแพทย์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นงลักษณ์ โควาวิสารัช , วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ , วิญญู รัตนไชย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741719043 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6784 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาหาแนวทางและสร้างต้นแบบในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทาง การยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายในโดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์ โดยวิธีที่นำเสนอในงานวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ การแก้ไขการเพี้ยนของภาพเอกซเรย์จากเครื่องฟลูออโรสโคป การคำนวณเพื่อปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคป และการคำนวณเพื่อปรับเครื่องหาตำแหน่งส่วนปลาย งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการแก้ไขการเพี้ยนทางเรขาคณิต ของภาพเอกซเรย์จากเครื่องฟลูออโร-สโคป โดยใช้อุปกรณ์อ้างอิงตำแหน่งที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยหาตำแหน่งจุดอ้างอิงของอุปกรณ์จากภาพเอกซเรย์ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งจริงในอุปกรณ์ เมื่อทดสอบกับภาพเอกซเรย์ของอุปกรณ์ทดสอบความถูกต้องที่ประดิษฐ์ขึ้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าทั้งอุปกรณ์และวิธีการที่ได้นำเสนอ มีความถูกต้องสูงโดยมีความคลาดเคลื่อนต่ำ ในการปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคปให้เห็นตำแหน่ง รูยึดสกรูซ้อนทับกันเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการคำนวณหาระยะและทิศทาง การปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคปโดยคำนวณเทียบจากตำแหน่งใน 3 มิติของรูยึดสกรูจากภาพเอกซเรย์ เริ่มจากการคำนวณหาตำแหน่งใน 3 มิติที่เป็นไปได้ทั้งหมดของรูยึดสกรู ที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดบนตะปู แล้วเลือกใช้ตำแหน่งที่มีค่าระยะทางพีชคณิตน้อยที่สุด จากการคำนวณตำแหน่งใน 3 มิติของรูยึดสกรูย้อนกลับไปหาตำแหน่งรูยึดสกรูในภาพเอกซเรย์ จากผลการทดลองปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคปด้วยวิธีที่นำเสนอนี้ พบว่าการคำนวณและปรับหมุนจากการเพี้ยนใน 2 ระนาบจนเห็นรูยึดสกรูเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ ทำได้ในจำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง ส่วนการปรับเครื่องหาตำแหน่งส่วนปลายให้รูรูปทรงกระบอกตรงกับ รูยึดสกรูที่เห็นเป็นวงกลมที่สมบูรณ์นั้น ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการคำนวณหาระยะและทิศทาง การปรับหมุนจุดปรับหมุนทั้ง 4 จุดโดยหาตำแหน่งใน 3 มิติของเครื่องหาตำแหน่งส่วนปลายจากภาพเอกซเรย์ โดยแทนโครงสร้างของแผ่นเล็งจากภาพเอกซเรย์ลงในภาพฉายแบบต่างๆ ที่เป็นไปได้และเลือกภาพฉายแบบที่ทำให้ระนาบทั้งสองใน 3 มิติของแผ่นเล็งขนานกันมากที่สุด เป็นคำตอบโดยคำนวณจากระยะคลาดเคลื่อนรวมน้อยที่สุด ของจุดที่ตรงกันระหว่างระนาบทั้งสอง ผลการทดลองพบว่าวิธีการที่นำเสนอ สามารถบอกทิศทางการปรับหมุนของจุดปรับหมุนทั้ง 4 จุดได้ดี แต่จำนวนรอบที่ต้องปรับหมุนยังคงมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง |
บรรณานุกรม | : |
กำธร สิมมามี . (2545). การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทางการยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายใน โดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กำธร สิมมามี . 2545. "การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทางการยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายใน โดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กำธร สิมมามี . "การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทางการยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายใน โดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. กำธร สิมมามี . การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทางการยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายใน โดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|