ชื่อเรื่อง | : | การจัดสรรเส้นทางเชิงความยาวคลื่นและการป้องกันโครงข่ายจากความขัดข้องหนึ่งข่ายเชื่อมโยงบนโครงข่าย WDM สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์ |
นักวิจัย | : | วรางรัตน์ วัฒนวรากุล |
คำค้น | : | การสื่อสารด้วยแสง , เส้นใยนำแสง , การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ , ศักดิ์ เสกขุนทด , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745328634 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6472 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาสองปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งของโครงข่าย WDM ที่รองรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์ ปัญหาแรกที่วิทยานิพนธ์ศึกษาคือ ปัญหาการจัดเส้นทางและการกำหนดความยาวคลื่นให้กับทราฟฟิก ชนิดมัลติคาสต์ของโครงข่าย WDM และปัญหาที่สองที่วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาคือ ปัญหาการป้องกันโครงข่าย WDM จากความขัดข้องหนึ่งข่ายเชื่อมโยง โดยเป็นการศึกษาการจัดสรรเส้นทางใหม่ เพื่อหลบหลีกข่าย เชื่อมโยงที่ขัดข้อง ซึ่งวีธีการจัดสรรเส้นทางใหม่ที่ได้ศึกษามีด้วยกัน 3 วิธีได้แก่ วิธีต้นทุนต่ำสุด (MC) วิธีใช้วงแหวนทิศทางเดียว (OLR) และวิธีใช้วงแหวนสองทิศทาง (TLR) โดยทั้งสองปัญหามีวัตถุประสงค์ ในการศึกษาคือ เพื่อพิจารณาและเปรียบเทียบวีธีการออกแบบโครงข่าย WDM ในด้านของจำนวนเส้นใย นำแสงที่โครงข่ายต้องการความซับซ้อนของแบบจำลอง รวมทั้งความยากง่ายในการจัดการควบคุม โครงข่าย ยิ่งไปกว่านั้นวิทยานิพนธ์นี้ยังวิเคราะห์ถึงอิทธพิลของอุปกรณ์แปลงผันความยาวคลื่นจำนวน ความยาวคลื่นสูงสุดที่สามารถมัลติเพลกซ์ได้ในเส้นใยนำแสงหนี่งเส้น รวมไปถึงลักษณะการวางเส้นใย นำแสง หนึ่งเส้น รวมไปถึงลักษณะการวางเส้นใยนำแสงในโครงข่ายว่ามีผลอย่างไร ต่อจำนวนเส้นใย นำแสงโดยรวมของระบบ ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จะใช้ Integer linear programming (ILP) เป็นเทคนิคในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งผลเฉลยที่ได้สามารถรับประกันได้ว่าเป็นผลเฉลย ที่ดีที่สุด กล่าวคือ จำนวนเส้นใยนำแสงโดยรวมที่ต้องจัดสรรให้กับโครงข่ายจะมีค่าต่ำสุด จากการวิเคราะห์ ผลเฉลยสามารถสรุปได้ว่า การออกแบบโครงข่ายด้วยวิธี MC เป็นวิธีการที่ต้องการเส้นใยนำแสงต่ำสุด ถัดมาได้แก่วิธีการจัดสรรเส้นทางใหม่แบบ TLR และ OLR ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเส้นใยนำแสง ที่โครงข่ายต้องการเมื่อใช้วิธีการจัดสรรเส้นทางใหม่แบบ TLR และ OLR จะขึ้นอยู่กับลักษณะของทราฟฟิก ในสภาวะปกติ และความสามารถของโครงข่ายในการรวมช่องสัญญาณทำงาน และช่องสัญญาณสำรอง ไว้ในเส้นใยนำแสงเดียวกัน |
บรรณานุกรม | : |
วรางรัตน์ วัฒนวรากุล . (2548). การจัดสรรเส้นทางเชิงความยาวคลื่นและการป้องกันโครงข่ายจากความขัดข้องหนึ่งข่ายเชื่อมโยงบนโครงข่าย WDM สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรางรัตน์ วัฒนวรากุล . 2548. "การจัดสรรเส้นทางเชิงความยาวคลื่นและการป้องกันโครงข่ายจากความขัดข้องหนึ่งข่ายเชื่อมโยงบนโครงข่าย WDM สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรางรัตน์ วัฒนวรากุล . "การจัดสรรเส้นทางเชิงความยาวคลื่นและการป้องกันโครงข่ายจากความขัดข้องหนึ่งข่ายเชื่อมโยงบนโครงข่าย WDM สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. วรางรัตน์ วัฒนวรากุล . การจัดสรรเส้นทางเชิงความยาวคลื่นและการป้องกันโครงข่ายจากความขัดข้องหนึ่งข่ายเชื่อมโยงบนโครงข่าย WDM สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|