ชื่อเรื่อง | : | ระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของแบบจำลองดินขั้นสูง |
นักวิจัย | : | สักรินทร์ วิจิตรรุ่งเรือง |
คำค้น | : | ปฐพีกลศาสตร์ , ดิน -- การวิเคราะห์ , ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บุญชัย อุกฤษฏชน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741744218 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5990 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาและพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของแบบจำลองดินขั้นสูง โดยเลือกใช้แบบจำลอง Modified Cam Clay (MCC) และแบบจำลอง MIT-E3 ข้อมูลที่ใช้สำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์รวบรวมจากวิทยานิพนธ์ฉบับใหม่ๆ ได้แก่ KIM (1991), LAI (1993), ยุทธนา (2002), กรัณฑ์ (2002) หลักการของระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของดินใช้หลักทางสถิติโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ภายในกระบวนการวิเคราะห์หาพารามิเตอร์ของระบบอัตโนมัติใช้หลักการของค่า R-square (R2) เฉลี่ยสูงสุดซึ่งถูกคำนวณและเปรียบเทียบระหว่างผลจากแบบจำลองดินกับผลจากการทดสอบจริงในห้องปฏิบัติการ ข้อมูลการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ใช้มี 4 ข้อมูล 1) กราฟความสัมพันธ์ของ Stress path 2) กราฟความสัมพันธ์ของความเค้น-ความเครียด 3) กราฟความสัมพันธ์ของความเครียดกับความดันน้ำในโพรงดิน 4) กราฟความสัมพันธ์ของ e-log p' ข้อมูลการทดสอบที่ใช้ 3 ข้อมูลแรกได้จากการทดสอบ triaxial และข้อมูลที่ 4 ได้จากการทดสอบอัดตัวคายน้ำ ในแต่ละขั้นตอน ค่า R2 จะถูกคำนวณจากผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการเทียบกับผลจากแบบจำลองดิน ในแต่ละขั้นตอนระบบอัตโนมัติจะปรับค่าพารามิเตอร์ทีละ 0.5% ของค่าเริ่มต้นและกำหนดช่วงขอบเขตของการปรับค่าพารามิเตอร์ อยู่ในช่วง +-20% ของค่าเริ่มต้น ค่าเฉลี่ยของ R2 สูงสุดในแต่ละขั้นตอนแสดงถึงค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการจำลองพฤติกรรมได้ดีที่สุด จากนั้นระบบจะกลับไปปรับพารามิเตอร์ที่ขั้นตอนแรกอีกครั้งแล้วปรับซ้ำอีกจนครบ 3รอบ พารามิเตอร์ชุดสุดท้ายที่ได้จะเป็นพารามิเตอร์ที่ให้ค่า R2 เฉลี่ยสูงสุดและจำลองพฤติกรรมดินได้ดีที่สุด การตรวจสอบความถูกต้องของระบบอัตโนมัติกระทำโดยเปรียบเทียบผลของพารามิเตอร์ที่ได้จากระบบอัตโนมัติกับพารามิเตอร์จากวิธี Manual โดยเทียบกับผลการทดสอบจริง ผลที่ได้พบว่าการวิเคราะห์พารามิเตอร์โดยระบบอัตโนมัติมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการวิเคราะห์โดยวิธี Manual สำหรับทุกข้อมูลดิน ชุดพารามิเตอร์ที่ได้จากระบบอัตโนมัติจะได้ค่า R2 สูงกว่าวิธี Manual ประมาณ 10-20% สำหรับแบบจำลอง MCC ระบบอัตโนมัติได้ค่า R2 เท่ากับ 91% และวิธี Manual ได้ค่า R2 เท่ากับ 80% สำหรับแบบจำลอง MIT-E3 ระบบอัตโนมัติได้ค่า R2 เท่ากับ 91% และวิธี Manual ได้ค่า R2 เท่ากับ 83% กล่าวโดยสรุประบบอัตโนมัติมีประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวิเคราะห์พารามิเตอร์สูงกว่าวิธี Manual ข้อดีที่สำคัญอย่างยิ่งของระบบอัตโนมัติคือ ความง่าย ดังนั้นช่วยลดความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์พารามิเตอร์เป็นอย่างมาก |
บรรณานุกรม | : |
สักรินทร์ วิจิตรรุ่งเรือง . (2546). ระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของแบบจำลองดินขั้นสูง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สักรินทร์ วิจิตรรุ่งเรือง . 2546. "ระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของแบบจำลองดินขั้นสูง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สักรินทร์ วิจิตรรุ่งเรือง . "ระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของแบบจำลองดินขั้นสูง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สักรินทร์ วิจิตรรุ่งเรือง . ระบบอัตโนมัติสำหรับวิเคราะห์พารามิเตอร์ของแบบจำลองดินขั้นสูง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|