ชื่อเรื่อง | : | ผลกระทบทางด้านวิศวกรรมการทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก |
นักวิจัย | : | นนทวัฒน์ ปาณสมบูรณ์ |
คำค้น | : | น้ำหนักบรรทุก (การขนส่ง) , รถบรรทุก , วิศวกรรมการทาง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา , สรวิศ นฤปิติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741300441 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5809 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 รถบรรทุกเป็นปัจจัยสำคัญในการขนส่งสินค้าต่างๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าประเภทผลิตผลทางการเกษตร และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งการขนส่งสินค้าเหล่านี้มักจะเกินพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ที่ทางราชการกำหนดส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อถนน โดยเฉพาะผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต ซึ่งเป็นถนนส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ช่วงเวลาในการเสริมผิวถนนหดสั้นลง รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมก่อนกำหนดเวลา เป็นจำนวนเงินมหาศาล และบางครั้งปัญหารถบรรทุกหนักเกินพิกัดได้ถูกหยิบยก มาเป็นปัญหาทางการเมืองอีกด้วย ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ได้ศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก 5 กรณีศึกษา โดยในกรณีศึกษาที่ 1 จะเป็นสภาพการขนส่งในปัจจุบันซึ่งมีการบรรทุกเกินพิกัด ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน (10 ล้อ 21 ตัน) ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 เป็นการควบคุมให้มาตรการทางกฎหมายปัจจุบันมีความเข้มงวด และไม่มีผู้ใดฝ่าฝืน สำหรับกรณีที่ 3, 4 และ 5 จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกโดยให้รถบรรทุก 10 ล้อ เป็นเกณฑ์ มีน้ำหนักรวมเป็น 25, 30 และ 35 ตัน ตามลำดับ และวิเคราะห์เฉพาะผลที่เกิดจากรถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อ 18 ล้อกึ่งพ่วง และ 18 ล้อพ่วง จากการศึกษาพบว่า น้ำหนักลงเพลาของรถบรรทุกและจำนวนเที่ยว ที่วิ่งผ่านบนถนนเส้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้อายุใช้งานของถนนหดสั้นลง ในกรณีศึกษาปีที่ 1 (สภาพปัจจุบัน) จะทำให้ถนนเกิดความเสียหายเร็วที่สุด และรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายช่วงปี พ.ศ. 2541-2559 ในการเสริมผิวแอสฟัลท์ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงิน 132,690 ล้านบาท ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 (10 ล้อ 21 ตัน) ถนนจะมีอายุใช้งานตามที่ออกแบบไว้ และจะเสียหายเร็วขึ้นเมื่อเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ตามกรณีศึกษาที่ 3 (10 ล้อ 25 ตัน) 4 (10 ล้อ 30 ตัน) และ 5 (10 ล้อ 35 ตัน) ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเสริมผิวเป็นเงิน 126,486 ล้านบาท 130,368 ล้านบาท และ 131,370 ล้านบาทตามลำดับ นอกจากนี้ยังทราบถึงระยะทางและค่าเสริมผิวถนน ในแต่ละปีของแต่ละกรณีศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประกอบการวางแผนการซ่อมบำรุงผิวทาง การจัดสรรงบประมาณ และการกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่เหมาะสมต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
นนทวัฒน์ ปาณสมบูรณ์ . (2543). ผลกระทบทางด้านวิศวกรรมการทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นนทวัฒน์ ปาณสมบูรณ์ . 2543. "ผลกระทบทางด้านวิศวกรรมการทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นนทวัฒน์ ปาณสมบูรณ์ . "ผลกระทบทางด้านวิศวกรรมการทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. นนทวัฒน์ ปาณสมบูรณ์ . ผลกระทบทางด้านวิศวกรรมการทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|