ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ |
นักวิจัย | : | กิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ |
คำค้น | : | อุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ , กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ , การจัดการผลิตภัณฑ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชูเวช ชาญสง่าเวช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743465006 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5409 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษาปัจจัยที่ต้องพิจารณาและพัฒนาระบบการตัดสินใจ โดยการประยุกต์ใช้หลักการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ เพื่อเลือกวัสดุทนไฟที่ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมเหล็กสำหรับการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ของผู้ผลิตวัสดุทนไฟขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย การกำหนดปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา เกิดจากการรวบรวมปัจจัยจากบทความวิชาการด้านการบริหาร การจัดการ และการระดมสมองของคณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาจัดกลุ่ม และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ โดยใช้เทคนิคแผนผังกลุ่มเชื่อมโยง และแผนผังแสดงความสัมพันธ์เป็นเครื่องมือ หลังจากนั้นแปลงให้อยู่ในรูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น สำหรับการหาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยทำโดยการออกแบบสอบถาม เพื่อเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยทีละคู่ โดยมีคณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำนวน 7 ท่านเป็นผู้พิจารณาเปรียบเทียบ และคำนวณน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยโดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป Expert choice สามารถสรุปปัจจัยที่สำคัญได้ 6 ปัจจัย คือ คุณภาพที่พึงประสงค์ร้อยละ 22.2 ราคาขายผลิตภัณฑ์เทียบกับต้นทุนผันแปร ร้อยละ 18 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 9.3 Know-how ที่ใช้ในการพัฒนาร้อยละ 8.7 ความสะดวกในการติดตั้งใช้งานร้อยละ 4.6 ระยะเวลาที่คู่แข่งจะพัฒนาสินค้าเทียบเท่าร้อยละ 4.2 หรือรวมน้ำหนักปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยเป็นร้อยละ 71.2 ของน้ำหนักปัจจัยทั้งหมด การกำหนดระดับคะแนนมาตรฐานในการประเมินวัสดุทนไฟ ที่ถูกเสนอพิจารณาให้พัฒนาให้กับทุกปัจจัยที่ต้องพิจารณา โดยอาศัยหลักการฟังก์ชั่นอรรถประโยชน์เพื่อให้การประเมินทางเลือกต่างๆ มีความชัดเจน และลดความลำเอียงของผู้ประเมิน โดยเฉพาะปัจจัยด้านคุณภาพที่พึงประสงค์ มีการพยากรณ์ความเหมาะสมกับเทคโนโลยี ในอนาคตของลูกค้าแล้วแปลงให้อยู่ในรูปคุณสมบัติของวัสดุทนไฟ ที่สามารถวัดค่าได้ สำหรับการประมวลผลได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Expert choice ช่วยในการคำนวณหาน้ำหนักความสำคัญโดยรวมของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อหาวัสดุทนไฟที่สมควรพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อองค์กรกรณีศึกษาตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง และวิเคราะห์ความไวในกรณีที่น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยเปลี่ยนไป จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า การตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ การกำหนดปัจจัยที่ต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การกำหนดน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยเพื่อระบุปัจจัยที่สำคัญ การกำหนดระดับคะแนนมาตรฐานเพื่อ ... |
บรรณานุกรม | : |
กิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ . (2543). ปัจจัยในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ . 2543. "ปัจจัยในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ . "ปัจจัยในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. กิตติพงษ์ โพธิ์ธรานนท์ . ปัจจัยในการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนา : กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|