ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเครียด การเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก |
นักวิจัย | : | มนัสวี จำปาเทศ |
คำค้น | : | ความเครียด (จิตวิทยา) , การปรับตัว (จิตวิทยา) , เด็กออทิสติก , มารดาและบุตร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จินตนา ยูนิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741758855 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5337 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว จำนวนบุตร และการรับรู้อาการบุตร ระดับความรุนแรงของอาการ และการสนับสนุนของสามี กับผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก และศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเครียด และการเผชิญความเครียดของมารดาที่มีผลลัพธ์การปรับตัวแตกต่างกัน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เป็นมารดาที่มีบุตรเป็นเด็กออทิสติก อายุ 3-5 ปี จำนวน 130 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 คือมารดาของเด็กออทิสติกในกลุ่มที่ 1 ที่มีผลลัพธ์การปรับตัวสูงจำนวน 10 คน และผลลัพธ์การปรับตัวต่ำจำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับความรุนแรงของอาการ แบบสอบถามเรื่องการสนับสนุนของสามี แบบวัดผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก และแนวทางการสัมภาษณ์การประเมินสถานการณ์ความเครียด การเผชิญความเครียดของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก แบบสอบถามทั้งหมดนี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการศึกษาตำรา งานวิจัยและการสัมภาษณ์มารดาของเด็กออทิสติก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89, .92, และ .83 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. มารดามีผลลัพธ์การปรับตัวโดยเฉลี่ยในระดับปานกลาง โดยพบว่าด้านการดำรงบทบาทหน้าที่ต่างๆ สูงสุด และมีการปรับตัวด้านขวัญกำลังใจต่ำสุด 2. ผลลัพธ์การปรับตัวของมารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับรายได้ของครอบครัว การรับรู้อาการบุตรระดับความรุนแรงของอาการ การสนับสนุนของสามีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .48, .31, .71 และ .44) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับจำนวนบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .16) โดยที่อายุของมารดานั้นไม่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การปรับตัวของมารดา 3. มารดาที่มีผลลัพธ์การปรับตัวแตกต่างกัน มีการประเมินสถานการณ์ความเครียด และการเผชิญความเครียดแตกต่างกัน |
บรรณานุกรม | : |
มนัสวี จำปาเทศ . (2546). การศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเครียด การเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มนัสวี จำปาเทศ . 2546. "การศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเครียด การเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มนัสวี จำปาเทศ . "การศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเครียด การเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. มนัสวี จำปาเทศ . การศึกษาการประเมินสถานการณ์ความเครียด การเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|