ชื่อเรื่อง | : | บทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001 |
นักวิจัย | : | จิรวัฒน์ สุขสโมสร |
คำค้น | : | โรค -- การป้องกันและควบคุม -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ , เอชไอวี (ไวรัส) -- ไทย , โรคเอดส์ -- ไทย , ออสเตรเลีย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย , ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ออสเตรเลีย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ประทุมพร วัชรเสถียร , วิพุธ พูลเจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741714246 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5147 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย ในด้านพัฒนาการของโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001 โดยมีวัตถุประสงค์ มุ่งเน้นศึกษามูลเหตุของการเกิดโครงการความร่วมมือ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ออสเตรเลียในโครงการไทยออสเตรเลียป้องกันเอดส์ภาคเหนือระหว่าง ปี ค.ศ. 1993-1997 และโครงการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ระหว่าง ปี ค.ศ.1997-2001 ในประเทศไทย เกิดจากบทบาทของประชาคมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นปัญหาเอดส์ของทั้งสองประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นปัญหาเอดส์ของทั้งสองประเทศ ในฐานะตัวแสดงที่มิใช่รัฐซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้เฉพาะในเรื่องหนึ่งๆ เป็นพิเศษและมีความเชื่อร่วมกัน โดยเฉพาะมีความรู้ถึงเหตุและผลของสภาพปัญหาเอดส์ อันนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและความตระหนักในประเด็นปัญหาเอดส์ที่ ตรงกันถึงสาเหตุและแนวทางการแก้ไข กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงกลายเป็นผู้มีบทบาทกระทำการระหว่างประเทศที่เข้ามาเสนอข้อเท็จจริง และมีบทบาทในการหาจุดร่วมเพื่อกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน โดยเฉพาะการนำข้อตกลงที่ได้จากการประสานนโยบายดังกล่าวเข้าไปสู่ การพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นแผนปฎิบัติหรือนโยบายระหว่างประเทศร่วมกัน และนำนโยบายดังกล่าวไปปฎิบัติจนเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐในที่สุด ส่งผลถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศไทย ในช่วงเวลาดังกล่าวจนกระทั่งปัจจุบัน |
บรรณานุกรม | : |
จิรวัฒน์ สุขสโมสร . (2545). บทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรวัฒน์ สุขสโมสร . 2545. "บทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรวัฒน์ สุขสโมสร . "บทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. จิรวัฒน์ สุขสโมสร . บทบาทของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย : ศึกษากรณีโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|