ชื่อเรื่อง | : | การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน |
นักวิจัย | : | วลัยพร ผ่อนผัน |
คำค้น | : | กากขี้แป้ง , น้ำยาง , ของเสียจากโรงงาน , กากตะกอนน้ำเสีย , ธาตุอาหารพืช |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธเรศ ศรีสถิตย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759827 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5128 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 นำกากขี้แป้งของเสียจากโรงงานผลิตน้ำยางข้น มาใช้ประโยชน์ร่วมกับกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง ในการทำเป็นวัสดุบำรุงดินสำหรับการเกษตรกรรม กำหนดการทดลองทำในกระถาง ในหน่วยทดลองแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่พืชต้องการลงไปในดินในอัตราที่เหมาะสมต่อการเติบโตต่อพืช กลุ่มที่ 2 ใส่กากขี้แป้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง กลุ่มที่ 3 กลุ่มควบคุม ไม่มีการเติมสิ่งใดในดิน และศึกษาการเติบโตของพืชทดลอง 3 ชนิดคือ ผักกาดหอม มะเขือเทศ และข้าว โดยศึกษาคุณลักษณะของดินกากขี้แป้งและกากตะกอน ก่อนการเพาะปลูก ศึกษาลักษณะการเติบโต ปริมาณธาตุอาหารที่พืชได้รับและที่สะสมในดินภายหลังการเก็บเกี่ยว ศึกษาหาปริมาณการสะสมสังกะสีในดินและในพืชที่ทดลอง หาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใส่กากขี้แป้งและกากตะกอน จากการศึกษาลักษณะสมบัติของดิน กากขี้แป้งและกากตะกอนก่อนการเพาะปลูกพบว่า ไม่มีข้อจำกัดในการนำกากขี้แป้งและกากตะกอนไปใช้ประโยชน์ ในการทำเป็นวัสดุบำรุงดินในการปลูกพืช สำหรับอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อเป็นวัสดุบำรุงดิน ในการทดลองปลูกผักกาดหอม มะเขือเทศและข้าว พบว่าอัตราส่วนผสมระหว่างดิน : กากขี้แป้ง : กากตะกอนในอัตราส่วน 1:3:1 เพราะทำให้การเติบโตของพืชทดลองไม่มีอาการขาดธาตุอาหารพืชแต่อย่างใด พิจารณาจากการสะสมธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในพืชซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเติบโต และผลผลิตที่ได้จากพืชมีน้ำหนักแห้งไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมี การสะสมธาตุอาหารในดินหลังการปลูกพบว่า ไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,119-1,132.5 mg/kg ฟอสฟอรัสมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 297.56-310.90 mg/kg และโพแทสเซียมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 366-384.5 mg/kg เป็นปริมาณการสะสมธาตุอาหารที่สามารถเป็นแหล่งธาตุอาหาร ไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืช และพบว่ามีปริมาณการสะสมสังกะสีในดินอยู่ในช่วง 0.44-1.64mg/kg ค่าที่ได้อยู่ในช่วงที่ยอมรับให้มีได้ในดินเพื่อการเกษตร กล่าวคือไม่เกิน 280-300 mg/kg |
บรรณานุกรม | : |
วลัยพร ผ่อนผัน . (2547). การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วลัยพร ผ่อนผัน . 2547. "การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วลัยพร ผ่อนผัน . "การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. วลัยพร ผ่อนผัน . การใช้ประโยชน์กากขี้แป้งจากโรงงานผลิตน้ำยางข้นในรูปสารบำรุงดิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|