ชื่อเรื่อง | : | การใช้แบคทีเรียเพื่อจัดการคุณภาพน้ำและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดินในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด |
นักวิจัย | : | จันทสิงห์ ดวงบ้านเซ่า |
คำค้น | : | การจัดการคุณภาพน้ำ , คุณภาพน้ำ , กุ้งกุลาดำ , แบคทีเรีย , โพรไบโอติก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ , สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะบัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741702051 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4261 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การทดลองเลี้ยงแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus S11, B. subtilis และ B. firmus ในอาหารดัดแปลงแป้งและปลาป่น พบว่าแบคทีเรียสามารถเจริญได้ดีในอัตราส่วนแป้งและปลาป่น 1:1%(wt/v) และการผสมอาหาร พบว่า โพรไบโอติกแบคทีเรียปริมาตร 10%(v/wt) เหมาะสมในการนำไปผสมกับอาหารกุ้งสำเร็จรูปใช้ ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งการทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อพลาสติกขนาดความจุน้ำ 130 ลิตร ระบบน้ำแบบปิดใช้กุ้งกุลาดำขนาด 5.96+-1.45 กรัม ปล่อยกุ้ง 20 ตัวต่อบ่อ เป็นระยะเวลา 30 วัน ให้อาหารผสมโพรไบโอติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Bacillus S11 และเติมแบคทีเรียสายพันธุ์ B. subtilis และ B. firmus ในน้ำเลี้ยงกุ้ง ควบคุมให้มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 103 CFU ml-1 พบว่า คุณภาพน้ำและอัตราการเติบโตของกุ้งกุลาดำทั้งสองกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี พบว่า กุ้งที่ได้รับการเสริมโพรไบโอติกแบคทีเรียมีอัตรารอดสูงกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ระยะโพสลาวี 25 (PL25) ในบ่อดินขนาด 900 ตารางเมตร ปล่อยกุ้งอัตราความหนาแน่น 33 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหารผสมโพรไบโอติกแบคทีเรียสายพันธุ์ Bacillus S11 และ เติมแบคทีเรียสายพันธุ์ B. subtilis และ B. firmus ในน้ำเลี้ยงกุ้ง เปรียบเทียบกับบ่อควบคุมที่ไม่ใส่แบคทีเรีย หลังจากการเลี้ยงครบ 100 วัน พบว่า กุ้งกุลาดำจากบ่อทดสอบมีอัตราการเติบโตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีผลผลิตสูงกว่าบ่อควบคุม จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดิน ทุก 2 สัปดาห์ พบว่า บีโอดี ปริมาณแอมโมเนียทั้งหมด ไนไตรท์ ไนเตรท ออโธฟอสเฟตและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดินมีค่าเฉลี่ยตลอดการทดลองต่ำกว่าบ่อควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) |
บรรณานุกรม | : |
จันทสิงห์ ดวงบ้านเซ่า . (2544). การใช้แบคทีเรียเพื่อจัดการคุณภาพน้ำและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดินในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จันทสิงห์ ดวงบ้านเซ่า . 2544. "การใช้แบคทีเรียเพื่อจัดการคุณภาพน้ำและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดินในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จันทสิงห์ ดวงบ้านเซ่า . "การใช้แบคทีเรียเพื่อจัดการคุณภาพน้ำและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดินในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. จันทสิงห์ ดวงบ้านเซ่า . การใช้แบคทีเรียเพื่อจัดการคุณภาพน้ำและปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนดินในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|