ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7 |
นักวิจัย | : | สุภัชญา ดีมีชัย |
คำค้น | : | กรดไฮยาลูโรนิค , การหมัก , สเตรปโตคอคคัส |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไพเราะ ปิ่นพานิชการ , นลิน นิลอุบล , วาสนา โตเลี้ยง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745312592 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4219 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7 ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ อิออนโลหะที่มีประจุ 2[superscript +] และกลุ่มที่สองคือ สารตั้งต้นหรือสารมัธยันตร์ในวิถีการสังเคราะห์กรดไฮยาลูโรนิก ผลการศึกษาในระดับขวดเขย่าพบว่า เชื้อผลิตกรดไฮยาลูโรนิกในการทดลองชุดควบคุม ประมาณ 620-700 มก. ต่อลิตร เมื่อเสริมปัจจัยเหล่านั้นแบบเดี่ยวพบว่า ปัจจัยที่เพิ่มผลผลิตในเกณฑ์สูงสุดคือ MnSO[subscript 4].H[subscript 2]O (10 มก. ต่อลิตร) ให้ผลผลิตประมาณ 880 มก. ต่อลิตร ขณะที่กลูตามีน (125 มก. ต่อลิตร) และกลูโคส-6-ฟอสเฟต (5 ไมโครโมลาร์) ให้ผลผลิตใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 825-830 มก. ต่อลิตร ส่วนไพรูเวท )15 มก. ต่อลิตร ใฟ้ผลผลิตประมาณ 800 มก. ต่อลิตร เมื่อเติม MnSO[subscript 4].H[subscript 2]O ร่วมกับสารประกอบเหล่านี้แต่ละชนิดที่ความเข้มข้นข้างต้น พบว่าไพรูเวทให้ผลผลิตสูงสุดคือประมาณ 950 มก.ต่อลิตร กลูโคส-6-ฟอสเฟต ให้ผลผลิตดีรองลงมาคือประมาณ 930 มก. ต่อลิตร ส่วนสารประกอบชนิดอื่นๆ ไม่มีผลช่วยเพิ่มการผลิตเมื่อเทียบกับการเติม MnSO[subscript 4].H[subscript 2]O การศึกษาในระดับถังหมักขนาด 5 ลิตร โดยใช้อัตราเร็วในการกวน 300 รอบต่อนาที อัตราการให้อากาศ 1.5 vvm พบว่าการทดลองชุดควบคุมให้ผลผลิตกรดไฮยาลูโรนิกสูงสุด 2,144 มก. ต่อลิตร ที่ชั่วโมงที่ 30 เมื่อมีการเติมปัจจัยเดี่ยว ได้แก่ MnSO[subscript 4].H[subscript 2]O (10 มก. ต่อลิตร) พบว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2,215 มก. ต่อลิตรที่ชั่วโมงที่ 30 และให้ผลผลิตสูงสุดเป็น 2,572 มก. ต่อลิตรที่ชั่วโมงที่ 39 เมื่อเติมไพรูเวท (15 มก. ต่อลิตร) ให้ผลผลิตสูงสุด 2,541 มก. ต่อลิตร ที่ชั่วโมงที่ 30 เมื่อเติมร่วมกันระหว่าง MnSO[subscript 4].H[subscript 2]O กับไพรูเวทที่ความเข้มข้นดังกล่าว เชื้อผลิตกรดไฮยาลูโรนิกได้ 2,342 มก. ต่อลิตรที่ชั่วโมงที่ 30 และให้ผลผลิตสูงสุด 2,903 มก. ต่อลิตรที่ชั่วโมงที่ 48 เมื่อหมักภายใต้ภาวะดังกล่าวแต่เพิ่มอัตราเร็วในการกวนเป็น 400 และ 500 รอบต่อนาทีจะได้ผลผลิตได้เป็น 2,670 และ 2,624 มก. ต่อลิตร ตามลำดับที่ชั่วโมงที่ 30 และให้ผลผลิตสูงสุดประมาณ 2,949 มก. ต่อลิตรที่ชั่วโมงที่ 45 สำหรับการกวน 400 รอบต่อนาที และ 2,903 มก. ต่อลิตรที่ชั่วโมงที่ 33 สำหรับการกวน 500 รอบต่อนาที |
บรรณานุกรม | : |
สุภัชญา ดีมีชัย . (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภัชญา ดีมีชัย . 2547. "ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภัชญา ดีมีชัย . "ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. สุภัชญา ดีมีชัย . ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดย Streptococcus zooepidemicus UN-7. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|