ชื่อเรื่อง | : | การกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน : กรณีของคอลัมน์แบบแยกเรซิน |
นักวิจัย | : | ธนกาญจน์ บุญพิทักษ์, 2524- |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไซยาไนด์ , น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก , การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า , การแลกเปลี่ยนไอออน , เรซินแลกเปลี่ยนไอออน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ , พิชญ รัชฎาวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741751109 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4029 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ศึกษาการกำจัดไชยาไนด์และโลหะหนักในน้ำเสีย โรงงานชุบโลหะขนาดกลางและขนาดเล็กด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน โดยเลือกใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนบวกและไอออนลบ ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด นำมาทดลองกับน้ำเสียสังเคราะห์ไชยาไนด์อย่างเดียว และไชยาไนด์ผสมโลหะหนักได้แก่ น้ำเสียสังเคราะห์ไชยาไนด์ผสมโครเมียม ไชยาไนด์ผสมทองแดง ไชยาไนด์ผสมนิกเกิล ไชยาไนด์ผสมสังกะสี และไชยาไนด์ผสมโลหะรวม 4 ชนิด ที่พีเอช 10 และ 12 เพื่อศึกษาพีเอชที่เหมาะสมในการกำจัดไชยไนด์และโลหะหนัก ผลการทดลองแบบแบตช์พบว่า เรซินแลกเปลี่ยนไอออนลบ IRA 402 CI ปริมาตร 0.15 ลิตรเรซินต่อลิตรน้ำ สามารถกำจัดไซยาไนด์ ในน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียวความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้มากกว่า 94% และในน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์ผสมโลหะหนัก สามารถกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนัก ได้มากกว่า 91% และ 96% ตามลำดับ โดยที่พีเอชของน้ำเสียและประเภทของโลหะหนักที่ผสมอยู่ในน้ำเสีย ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนัก ส่วนเรซินแลกเปลี่ยนไอออนบวก IR 120 Na สามารถกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักในน้ำเสียสังเคราะห์ ไซยาไนด์ผสมโลหะหนักได้ 1.5% และ 3% ตามลำดับ สำหรับผลการทดลองแบบคอลัมน์พบว่า น้ำเสียที่ไหลผ่านชุดคอลัมน์เรซินแลกเปลี่ยนไออนบวก ไม่สามาถกำจัดได้ทั้งไซยาไนด์และโลหะหนัก ดังนั้นในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียว และไซยาไนด์ผสมโลหะหนัก ควรใช้ชุดคอลัมน์เรซินแลกเปลี่ยนไอออนลบ ประเภทของโลหะหนักที่ผสมอยู่ในน้ำเสีย มีผลต่อค่าความจุของเรซินในการกำจัดไซยาไนด์ ทำให้มีค่าความจุของเรซิน น้อยกว่าน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียว และเมื่อนำชุดคอลัมน์เรซินแลกเปลี่ยนไอออนลบ ไปประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์ และไซยาไนด์ผสมโลหะหนัก ให้มีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง พบว่า น้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียว ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถบำบัดได้ถึง 50 BV (ปริมาตรของคอลัมน์) สำหรับน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์ผสมโครเมียม ไซยาไนด์ผสมทองแดง ไซยาไนด์ผสมนิกเกิด สามารถบำบัดได้ 40 BV ส่วนไซยาไนด์ผสมสังกะสี ไซยาไนด์ผสมโลหะรวม 4 ชนิด สามารถบำบัดได้ 60 และ 110 BV ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
ธนกาญจน์ บุญพิทักษ์, 2524- . (2548). การกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน : กรณีของคอลัมน์แบบแยกเรซิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนกาญจน์ บุญพิทักษ์, 2524- . 2548. "การกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน : กรณีของคอลัมน์แบบแยกเรซิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนกาญจน์ บุญพิทักษ์, 2524- . "การกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน : กรณีของคอลัมน์แบบแยกเรซิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ธนกาญจน์ บุญพิทักษ์, 2524- . การกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน : กรณีของคอลัมน์แบบแยกเรซิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|