ชื่อเรื่อง | : | การผลิตแซนแทนกัมจากกากมันสำปะหลังโดย Xanthomonas campestris TISTR 840 |
นักวิจัย | : | ธันยาภรณ์ นาวินวรรณ |
คำค้น | : | มันสำปะหลัง , กากมันสำปะหลัง , แซนแทนกัม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุเมธ ตันตระเธียร , ชิดพงษ์ ประดิษฐสุวรรณ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743339876 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3935 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 กากมันสำปะหลังถูกนำมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับเลี้ยงเชื้อ Xanthomonas campestris TISTR 840 เพื่อใช้ในการผลิตแซนแทนกัม โดยย่อยกากมันสำปะหลังให้กลายเป็นสารละลายน้ำตาลก่อน ด้วยกรดหรือเอนไซม์ จากการศึกษาภาวะในการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดซัลฟิวริก ที่แปรความเข้มข้นอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการย่อยพบว่า การย่อยกากมันสำปะหลังด้วยกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 โมลาร์ร่วมกับการให้ความร้อน 120 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 นาทีให้ประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดเท่ากับ 93.60 เปอร์เซ็นต์ โดยสารละลายน้ำตาลที่ได้นี้มีความเหมาะสมในการเป็นแหล่งคาร์บอน ต่ำกว่าสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์ผสม ของแอลฟาอะไมเลส กลูโคอะไมเลส และเซลลูเลส และเมื่อลดปริมาณไนโตรเจน กรดซิตริก และแมกนีเซียมในอาหารเลี้ยงเชื้อจากสูตรของ Roseiro ลงส่งผลให้ดัชนีความหนืดของน้ำหมักเพิ่มขึ้น โดยการผลิตแซนแทนกัมแบบขั้นตอนเดียวซึ่งเลี้ยงเชื้อ ในสูตรอาหารปรับปรุงที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต 1 กรัม/ลิตร กรดซิตริก 2 กรัม/ลิตร และแมกนีเซียมซัลเฟต 0.10 กรัม/ลิตร ซึ่งใช้สารละลายน้ำตาลจากการย่อยกากมันสำปะหลังเป็นแหล่งคาร์บอน มีความเหมาะสมต่อการผลิตแซนแทนกัมสูงสุดโดยให้ค่าดัชนีความหนืด ของน้ำหมักที่ 144 ชั่วโมงของการผลิตเท่ากับ 16.99 Pa s 0.69 ซึ่งให้ค่าดัชนีความหนืดมากกว่าการเลี้ยงเชื้อในสูตรอาหารของ Roseiro ที่มีสารละลายน้ำตาลกลูโคสจากการย่อยกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์ เป็นแหล่งคาร์บอนและให้ค่าน้อยกว่าการเลี้ยงเชื้อในสูตรอาหารของ Roseiro ที่มีสารละลายน้ำตาลกลูโคสบริสุทธิ์เป็นแหล่งคาร์บอน และเมื่อศึกษาภาวะการตกตะกอนแซนแทนกัมพบว่าการใช้เอธานอลปริมาตร 2 เท่าของปริมาตรสารละลายแซนแทนกัมร่วมกับเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ 3 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนัก/ปริมาตร) ให้ประสิทธิภาพการตกตะกอนสูงที่สุดเท่ากับ 79.17 เปอร์เซ็นต์ โดยแซนแทนกัมที่ผลิตได้จากสูตรอาหารปรับปรุงมีสมบัติ ในการคงตัวของความหนืดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ใกล้เคียงกับแซนแทนกัม ซึ่งผลิตจากการเลี้ยงเชื้อในสูตรอาหารของ Roseiro และแซนแทนกัมเกรดอาหาร |
บรรณานุกรม | : |
ธันยาภรณ์ นาวินวรรณ . (2542). การผลิตแซนแทนกัมจากกากมันสำปะหลังโดย Xanthomonas campestris TISTR 840.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธันยาภรณ์ นาวินวรรณ . 2542. "การผลิตแซนแทนกัมจากกากมันสำปะหลังโดย Xanthomonas campestris TISTR 840".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธันยาภรณ์ นาวินวรรณ . "การผลิตแซนแทนกัมจากกากมันสำปะหลังโดย Xanthomonas campestris TISTR 840."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. ธันยาภรณ์ นาวินวรรณ . การผลิตแซนแทนกัมจากกากมันสำปะหลังโดย Xanthomonas campestris TISTR 840. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|