ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด |
นักวิจัย | : | สมนึก แสงนาค, 2497- |
คำค้น | : | กองบัญชาการทหารสูงสุด , ทหาร , สมรรถภาพทางกาย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิชิต คนึงสุขเกษม , อนันต์ อัดชู , ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741302126 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3920 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบขององค์ประกอบและรายการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย โดยผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 ท่าน จากนั้นนำมา สร้างเป็นแบบทดสอบและแบบเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด ที่มีอายุระหว่าง 17-60 ปี จำนวน 120 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม เป็นชาย 30 คน หญิง 30 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลอง เป็นชาย 30 คน หญิง 30 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญและแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ขอบเขตพิสัยควอไทล์ที่ 1-3 ดัชนีความสอดคล้อง ที-เทสต์ สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โปรดัก โมเมนต์ ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบของสมรรถภาพทางกายที่นำมาใช้ในแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ความอดทนของระบบหัวใจและการหายใจ สัดส่วนที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวซึ่งวัดได้โดย การวิ่ง-เดิน 1.5 ไมล์ หรือ 2,400 เมตร การหาค่าดัชนีมวลกาย การดันพื้น 30 วินาที การลุก-นั่ง 60 วินาที และการนั่งก้มตัวไปข้างหน้า ตามลำดับ 2. รูปแบบของการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ที่นำมาใช้ในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ความอดทนของระบบหัวใจและการหายใจ สัดส่วนที่เป็นส่วนประกอบของร่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัว ตามลำดับ 3. แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำรหับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด มีความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ และความตรงตามโครงสร้าง โดยมีความสัมพันธ์กับแบบทดสอบมาตรฐาน ฟิซิคอลเบส (Physical best) ในการวิ่ง-เดิน 1ไมล็ กับ 1.5 ไมล์ เพศชายมีค่า .95 เพศหญิงมีค่า .94 ในการดึงข้อกับการดันพื้น 30 วินาที เพศชายมีค่า .88 เพศหญิงมีค่า .85 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. แบบเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย สำหรับกำลังพลในกองบัญชาการทหารสูงสุด มีความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ และความตรงตามโครงสร้าง โดยมีค่าความไวในการพัฒนาการจากผลของการทดสอบการวิ่ง-เดิน 1.5 ไมล์ ดัชนีมวลกาย ดันพื้น 30 วินาที ลุก-นั่ง 60 วินาที และนั่งก้มตัวไปข้างหน้าเท่ากับ 9.61, 11.27, 8.67 และ 11.36 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 |
บรรณานุกรม | : |
สมนึก แสงนาค, 2497- . (2543). การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมนึก แสงนาค, 2497- . 2543. "การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมนึก แสงนาค, 2497- . "การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. สมนึก แสงนาค, 2497- . การพัฒนารูปแบบการทดสอบและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของกำลังพล ในกองบัญชาการทหารสูงสุด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|