ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบการกระจายความเค้นที่เกิดจากการใช้สปริงดึงฟันเขี้ยว 3 ชนิด |
นักวิจัย | : | บัญชา สำรวจเบญจกุล, 2513- |
คำค้น | : | ฟันเขี้ยว , โฟโตอีลาสติก , ความเครียดและความเค้น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมรตรี วิถีพร , วิรัตน์ จอมขวา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทัตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743338659 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3874 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการกระจายความเค้นบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งเกิดจากการใช้สปริงสำเร็จรูป 3 ชนิด ได้แก่ พีจี ยูนิเวอร์ซัล รีแทรกชั่น สปริง, แมนดิบูลาร์ คัสปิด รีแทรกชั่นสปริง, เบอร์สโตน รีแทรกชั่นสปริง และเปรียบเทียบการกระจายความแค้นที่เกิดเมื่อใช้สปริงดังกล่าวตามคำแนะนำของผู้ผลิต กลุ่มตัวอย่างเป็นสปริงดึงฟันเขี้ยวสำเร็จรูป 3 ชนิด ได้แก่ พีจียูนิเวอร์ซัล สปริง, แมนดิบูลาร์ คัสปิด รีแทรกชั่น สปริง, และเบอร์สโตน รีแทรกชั่น สปริง การกระจายความแค้นศึกษาโดยวิธีโฟโตอีลาสติกในแบบจำลองฟัน ของขากรรไกรล่างด้านซ้าย ซึ่งถอนฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง ประกอบด้วย ฟันเขี้ยว, ฟันกรามล่างน้อยซี่ที่สอง, ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ผลการวิจัยสรุปว่า มีความแตกต่างกันของการกระจายความเค้น โดยสปริงดึงฟันเขี้ยว พีจี ยูนิเวอร์ซัล รีแทรกชั่น สปริง ที่แรงน้อยกว่า 100 กรัมทำให้เกิดการเคลื่อนที่เฉพาะด้านตัวฟันแบบทิปปิง มาทางด้านไกลกลาง และที่แรงในช่วง 100-200 กรัมพบการเคลื่อนที่ของฟันเกือบเป็นบอดิลี และเมื่อให้แรงที่มากกว่า 200 กรัม ตัวฟันเคลื่อนมาทางด้านไกลกลางมากขึ้น สปริงดึงฟันเขี้ยวชนิด แมนดิบูลาร์คัสปิด รีแทรกชั่น สปริง พบว่าที่แรงน้อยกว่า 100 กรัมทำให้ตัวฟันเคลื่อนที่มาทางด้านไกลกลางและปลายรากฟันเคลื่อนมาทางด้านใกล้กลาง และในช่วง 100-200 กรัม การเคลื่อนที่ของตัวฟันเกือบเป็นบอดิลี เมื่อให้แรงที่มากกว่า 200 กรัม ตัวฟันเคลื่อนมาทางด้านไกลกลางและรากฟันเคลื่อนมาทางด้านใกล้กลางมากขึ้น สปริงดึงฟันเขี้ยวชนิด เบอร์สโตน รีแทรกชั่น สปริง พบว่าแรงน้อยกว่า 100 กรัมเกิดการเคลื่อนที่ของตัวฟันมาทางด้านใกล้กลาง และปลายรากมาทางด้านไกลกลาง เมื่อให้แรงในช่วง 100-200 กรัม ตัวฟันเคลื่อนมาทางด้านไกลกลางมากขึ้น และเมื่อให้แรงที่มากกว่า 200 กรัม การเคลื่อนที่ของตัวฟันยังคงมากกว่ารากฟัน เมื่อดึงสปริงทั้ง 3 ชนิดตามคำแนะนำของผู้ผลิตพบว่า สปริงชนิด พีจี ยูนิเวอร์ซัล รีแทรกชั่น สปริงดึงที่ระยะ 1 ม.ม. และสปริงชนิด แมนดิบูลาร์คัสปิด รีแทรกชั่นสปริง ดึงที่ระยะ 2 ม.ม. ทำให้ฟันเขี้ยวเคลื่อนที่ในลักษณะใกล้เคียงกันคือ เกือบเป็นลักษณะแบบบอดิลี ส่วนสปริงดึงชนิด เบอร์สโตน รีแทรกชั่น สปริง ดึงที่ระยะ 6 ม.ม. พบว่าลักษณะของการเคลื่อนที่เป็นแบบตัวฟันเคลื่อนที่มากกว่ารากฟัน |
บรรณานุกรม | : |
บัญชา สำรวจเบญจกุล, 2513- . (2542). การศึกษาเปรียบเทียบการกระจายความเค้นที่เกิดจากการใช้สปริงดึงฟันเขี้ยว 3 ชนิด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัญชา สำรวจเบญจกุล, 2513- . 2542. "การศึกษาเปรียบเทียบการกระจายความเค้นที่เกิดจากการใช้สปริงดึงฟันเขี้ยว 3 ชนิด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัญชา สำรวจเบญจกุล, 2513- . "การศึกษาเปรียบเทียบการกระจายความเค้นที่เกิดจากการใช้สปริงดึงฟันเขี้ยว 3 ชนิด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. บัญชา สำรวจเบญจกุล, 2513- . การศึกษาเปรียบเทียบการกระจายความเค้นที่เกิดจากการใช้สปริงดึงฟันเขี้ยว 3 ชนิด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|