ชื่อเรื่อง | : | อาการแสดง ธรรมชาติของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคพร่องเอ็นไซม์กลุ่มคาร์บอกซิเลส |
นักวิจัย | : | ยิ่งดาว ชยสิกานนท์, 2521- |
คำค้น | : | โรคพร่องเอนไซม์กลุ่มคาร์บอกซิเลส , ไบโอติน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741740107 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3782 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอาการแสดง ธรรมชาติของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรค Multiple carboxylase deficiency รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณาแบบย้อนหลัง ประชากร ผู้ป่วยที่มีอาการแสดงเข้าได้กับกลุ่มโรค Multiple carboxylase deficiency ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี 2542-2548 วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การดำเนินโรค และการรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย ศึกษาผลระดับ biotinidase activity ในตัวอย่างเลือดผู้ป่วยและการกลายพันธุ์ของยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคในผู้ป่วยและครอบครัวจากแฟ้มประวัติในห้องปฏิบัติการหน่วยพันธุศาสตร์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค Multiple carboxylase deficiency 4 ราย เป็น ชาย 1 ราย หญิง 3 ราย โดยทั้งหมดเป็นชนิด holocarboxylase synthetase deficiency ซึ่งอายุที่เริ่มมีอาการคือ 1-8 เดือน โดยทุกรายมีผื่นรอบปาก ตา ก้น เป็น ๆ หาย ๆ ต่อมาหายใจหอบจาก metabolic acidosis และอาการทางระบบประสาทคือซึม กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก และชักในบางราย และได้ยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจ urine organic acid ส่วนการตรวจ biotinidase activity อยู่ในระดับปกติการตรวจการกลายพันธุ์ที่ยีน HLCS พบลักษณะการกลายพันธุ์ผิดรหัสชนิด R508W 6 จาก 8 อัลลีล และตรวจพบมีการกลายพันธุ์ชนิดที่ยังไม่เคยมีผู้รายงาน 1 ชนิดคือ G505R ผู้ป่วยทุกรายตอบสนองต่อการรักษาโดยการให้ไบโอตินภายใน 16-24 ชั่วโมง และสามารถควบคุมโรคได้ด้วยไบโอตินขนาด 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน ระดับพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับอายุที่เริ่มรักษาโดยผู้ป่วยที่เริ่มรักษาตั้งแต่อายุ 6 เดือนและ 9 เดือน มีพัฒนาการปกติ ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาที่อายุ 2 ปี 5 เดือน และ 6 ปี มีพัฒนาการช้าเล็กน้อย บทสรุป อาการสำคัญคืออาการแสดงทางผิวหนัง หอบ และอาการทางระบบประสาท การตรวจ urine organic acid เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยไทยรุกรายตอบสนองต่อการให้ไบโอตินขนาด 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วก็จะทำให้การพยากรณ์โรคดี |
บรรณานุกรม | : |
ยิ่งดาว ชยสิกานนท์, 2521- . (2548). อาการแสดง ธรรมชาติของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคพร่องเอ็นไซม์กลุ่มคาร์บอกซิเลส.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยิ่งดาว ชยสิกานนท์, 2521- . 2548. "อาการแสดง ธรรมชาติของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคพร่องเอ็นไซม์กลุ่มคาร์บอกซิเลส".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยิ่งดาว ชยสิกานนท์, 2521- . "อาการแสดง ธรรมชาติของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคพร่องเอ็นไซม์กลุ่มคาร์บอกซิเลส."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ยิ่งดาว ชยสิกานนท์, 2521- . อาการแสดง ธรรมชาติของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคพร่องเอ็นไซม์กลุ่มคาร์บอกซิเลส. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|