ชื่อเรื่อง | : | ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับและความเร็วไหลขิ้น ที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบอีจีเอสบี |
นักวิจัย | : | สุชัญญา ทองเครือ |
คำค้น | : | น้ำเสียชุมชน , น้ำเสีย--การบำบัด , น้ำเสีย--การบำบัด--วิธีทางชีวภาพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชวลิต รัตนธรรมสกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741760086 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3720 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบีในการบำบัดน้ำเสียชุมชน ประเภทอาคารเรียน จากอาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาถึงผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับและความเร็วไหลขึ้น ที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบ งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ควบคุมความเร็วไหลขึ้นให้คงที่เท่ากับ 4.5 ม./ชม. และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับเป็น 1:3, 1:7, 1:11 และ 1:15 และการทดลองที่ 2 เลือกสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับที่เหมาะสมหนึ่งค่าจากการทดลองที่ 1 ให้คงที่ เท่ากับ 1:11 และเปลี่ยนแปลงความเร็วไหลขึ้นเป็น 3.5 และ 5.5 ม./ชม. ผลการทดลองที่ 1 พบว่า ที่สัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับ 1:3, 1:7, 1:11 และ 1:15 ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 69.2, 72.6, 76.3 และ 74.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 72.7, 73.5, 76.6 และ 75.6 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 74.0, 77.4, 81.7 และ 73.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสรุปได้ว่า สัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับที่ 1:11 ทำให้ระบบอีจีเอสบีมีประสิทธิภาพดีที่สุด ผลการทดลองที่ 2 พบว่า ที่ความเร็วไหลขึ้น 3.5 และ 5.5 ม./ชม. ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 72.5 และ 79.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดบีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 74.6 และ 78.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 82.0 และ 79.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสรุปได้ว่า ความเร็วไหลขึ้นมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบี ตลอดงานวิจัยนี้ไม่สามารถตรวจวัดก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากน้ำเสียมีความเข้มข้นซีโอซีต่ำ และก๊าซชีวภาพสามารถละลายอยู่ในน้ำเสียในระบบและออกไปกับน้ำทิ้ง และคุณภาพน้ำออกจากระบบอีจีเอสบีผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคาร ดังนั้นระบบอีจีเอสบีจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้งานจริง เพื่อบำบัดน้ำเสียชุมชนประเภทอาคารเรียน |
บรรณานุกรม | : |
สุชัญญา ทองเครือ . (2547). ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับและความเร็วไหลขิ้น ที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบอีจีเอสบี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชัญญา ทองเครือ . 2547. "ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับและความเร็วไหลขิ้น ที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบอีจีเอสบี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชัญญา ทองเครือ . "ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับและความเร็วไหลขิ้น ที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบอีจีเอสบี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. สุชัญญา ทองเครือ . ผลของสัดส่วนอัตราไหลเข้าต่ออัตราไหลเวียนกลับและความเร็วไหลขิ้น ที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบอีจีเอสบี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|