ชื่อเรื่อง | : | การผลิตอะซีทิลเอสเทอเรส โดย Streptomyces sp. PC22 |
นักวิจัย | : | เวฬุรีย์ ทองคำ |
คำค้น | : | อะซีทิลเอสเทอเรส , ไซแลน--การย่อยสลาย , สเตรปโตมัยซีส |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไพเราะ ปิ่นพานิชการ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745314773 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3445 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 งานวิจัยนี้ได้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตอะซีทิลเอสเทอเรสซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโซ่กิ่งของไซแลนจาก Streptomyces sp. PC22 ผลการแปรชนิดของไซแลนที่มีขายทางการค้าได้แก่ ไซแลนจากเปลือกข้าวโอ๊ต ไม้เบิร์ช และไม้บีช พบว่าไซแลนจากไม้เบิร์ชเป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุดโดยความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 1 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) และเมื่อใช้ร่วมกับแหล่งอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไนโตรเจนที่เหมาะสมคือ พอลิเพพโทน หรือ (NH[subscript 4])[subscript 2]HPO[subscript 4] ที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับไนโตรเจน 0.05 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) จะให้แอคติวิตีของเอนไซม์สูงสุดเท่ากับ 0.33 และ0.24 หน่วยต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 3 วันที่ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นคือ 9 และ10 ตามลำดับ ผลการแปรวัสดุทางการเกษตรที่มี ไซแลนเป็นองค์ประกอบ เมื่อใช้เป็นแหล่งคาคาร์บอนแทนไซแลน ได้แก่ รำข้าวสาลี รำข้าวเจ้า ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ซังข้าวโพด กากเมล็ดฝ้าย และขี้เลื่อย พบว่าเปลือกข้าวโพดที่ความเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) เมื่อใช้ร่วมกับแหล่งอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไนโตรเจนที่เหมาะสมคือ พอลิเพพโทน ที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับไนโตรเจน 0.05 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) หรือ NH[subscript 4]Cl ที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับไนโตรเจน 0.075 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) จะให้แอคติวิตีใกล้เคียงกับการใช้ไซแลนจากไม้เบิร์ชเป็นแหล่งคาร์บอนโดยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.31 และ 0.29 หน่วยต่อมิลลิลิตรตามลำดับ เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 2 วัน ที่ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นเท่ากับ 9 จากการศึกษาสมบัติเบื้องต้นของเอนไซม์พบว่าอุณหภูมิและค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมต่อการทำงานคือที่ 60 องศาเซลเซียส และ 6.5 มีความเสถียรสูงถึงอุณหภูมิ คือ 50 องศาเซลเซียส และจะสูญเสียแอคตีวิตี เกือบสมบูรณ์เมื่อบ่มที่ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที เอนไซม์มีความเสถียรต่อค่าความเป็นกรดด่างในช่วงกว้างคือ 4.0 -9.0 |
บรรณานุกรม | : |
เวฬุรีย์ ทองคำ . (2547). การผลิตอะซีทิลเอสเทอเรส โดย Streptomyces sp. PC22.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เวฬุรีย์ ทองคำ . 2547. "การผลิตอะซีทิลเอสเทอเรส โดย Streptomyces sp. PC22".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เวฬุรีย์ ทองคำ . "การผลิตอะซีทิลเอสเทอเรส โดย Streptomyces sp. PC22."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เวฬุรีย์ ทองคำ . การผลิตอะซีทิลเอสเทอเรส โดย Streptomyces sp. PC22. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|