ชื่อเรื่อง | : | การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมในโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม |
นักวิจัย | : | วรางคณา กิจพิพิธ, 2519- |
คำค้น | : | โคนม , พันธุกรรม , น้ำนม , การปรับปรุงพันธุ์ , การวิเคราะห์การถดถอย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย จันทร์ผ่องแสง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741715706 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2564 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทน ในการให้นมของโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม (RRM) และโมเดลแบบหุ่นตัวสัตว์ (AM) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมระหว่างปี พ.ศ. 2527-2543 จำนวนข้อมูลบันทึกผลผลิตในวันทดสอบเข้าทำการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 10,415 ระเบียน จากแม่โคจำนวน 645 ตัว ที่มีลำดับการให้ผลผลิตครั้งที่ 1 ถึง 3 โดยลักษณะความคงทนในการให้นมที่ทำการศึกษาทั้งสามวิธี ได้แก่ วิธีใช้ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของสมการสร้างกราฟแสดงการให้นม (beta) วิธีใช้อัตราส่วนของปริมาณน้ำนมรวมช่วงวันให้นมที่ 201-305 ต่อปริมาณน้ำนมรวมช่วงวันให้นมที่ 1-100 (P3:1) และวิธีใช้อัตราส่วนของปริมาณน้ำนมรวมช่วงวันให้นมที่ 201-305 ต่อปริมาณน้ำนมรวมที่ 305 วัน (P3:T) จากผลการศึกษาทั้งสามวิธี พบว่า ปัจจัยเนื่องจากปีและฤดูกาลที่แม่โคคลอดลูก ระดับเลือดโคยุโรป ลำดับการให้ผลผลิต อายุเมื่อคลอดลูก จำนวนวันให้นม และจำนวนวันให้นมจนถึงวันทดสอบครั้งแรก มีอิทธิพลต่อลักษณะความคงทนในการให้นมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนใช้วิธี resticted maximum likelihood (REML) พบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นม ได้แก่ beta, P3:1 และ P3:T ที่ได้จากการวิเคราะห์โดยใช้ AM มีค่าเท่ากับ 0.14, 0.10 และ 0.07 ตามลำดับ และค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมที่ได้จากการวิเคราะห์โดยใช้ RRM ได้แก่ P1, P2 และ P3 มีค่าเท่ากับ 0.14, 0.30 และ 0.42 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นม (beta, P3:1 และ P3:T) มีค่าสูงกว่า 0.62 (p<0.05) และการหาความสัมพันธ์ของคุณค่าการผสมพันธุ์ที่วิเคราะห์โดย RRM และ AM ด้วยวิธี Pearson correlation และ Spearman rank correlation พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามการใช้ RRM จะสามารถอธิบายอิทธิพลของสภาพแวดล้อมได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้การประเมินค่าทางพันธุกรรมมีความถูกต้องมากกว่าการใช้ AM |
บรรณานุกรม | : |
วรางคณา กิจพิพิธ, 2519- . (2545). การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมในโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรางคณา กิจพิพิธ, 2519- . 2545. "การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมในโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรางคณา กิจพิพิธ, 2519- . "การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมในโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. วรางคณา กิจพิพิธ, 2519- . การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะความคงทนในการให้นมในโคนมลูกผสมโดยใช้โมเดลถดถอยเชิงสุ่ม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|