ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท |
นักวิจัย | : | เจนการ เจนการกิจ, 2520- |
คำค้น | : | การใช้ที่ดิน , การใช้ที่ดินในเมือง , การพัฒนาเมือง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นพนันท์ ตาปนานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741768362 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2409 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรมในย่านสุขุมวิท เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของย่าน และเพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ย่านสุขุมวิท มีลักษณะการรวมตัวกันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประเภทที่มีความแตกต่างทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจ และลักษณะของประชากรในพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ซอยนานา พื้นที่ซอยอโศก พื้นที่ซอยพร้อมพงษ์ และพื้นที่ซอยทองหล่อ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของย่านเริ่มจากการเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยจนเป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยชานเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อการพัฒนาในแนวราบเต็มพื้นที่จึงได้มีการพัฒนาอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นการรื้อและสร้างใหม่ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแม้ว่ากิจกรรมส่วนใหญ่จะชะลอลง แต่พื้นที่พาณิชยกรรมยังคงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในลักษณะที่มีความหนาแน่นสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เน้นกลุ่มเป้าหมายในระดับบนมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ ปัจจัยความสัมพันธ์กับพื้นที่โดยรอบ ปัจจัยการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ปัจจัยความเป็นศูนย์กลางเมือง ปัจจัยราคาที่ดิน ปัจจัยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัจจัยบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ ปัจจัยจำนวนประชากรในพื้นที่ ปัจจัยลักษณะของประชากรในพื้นที่ และปัจจัยบริการสาธารณะ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยนโยบายโครงการพัฒนา กฎหมายและข้อกำหนดของรัฐ และปัจจัยเกี่ยวกับค่านิยมต่อพื้นที่ สำหรับข้อเสนอแนะ ได้ทำการเสนอแนะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบทบาทของย่าน จากการเป็นย่านพักอาศัยชั้นซึ่งดีมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นย่านพาณิชยกรรมระดับบนในอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ โดยเสนอให้มีการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนา และการพัฒนาโครงข่ายถนนซอย เพื่อให้ย่านสุขุมวิทมีการพัฒนาอย่างมีแบบแผนต่อไปในอนาคต |
บรรณานุกรม | : |
เจนการ เจนการกิจ, 2520- . (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจนการ เจนการกิจ, 2520- . 2547. "ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจนการ เจนการกิจ, 2520- . "ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เจนการ เจนการกิจ, 2520- . ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม ในย่านสุขุมวิท. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|