ชื่อเรื่อง | : | การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน |
นักวิจัย | : | สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์, 2510- |
คำค้น | : | ที่อยู่อาศัย , ชุมชนแออัด--ไทย--กรุงเทพฯ , คุณภาพชีวิต--ไทย--กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชวลิต นิตยะ , กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741711468 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2309 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.พ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 มติคณะรัฐมนตรี วันที่10 สิงหาคม 2536 ให้ดำเนินการโยกย้ายจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้บุกรุกใต้สะพาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านกายภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใต้สะพานให้ดีขึ้น ตามแนวทางการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นจึงจัดทำงานวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อย้ายจากชุมชนใต้สะพาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ของผู้ถูกรื้อย้ายจากชุมชนใต้สะพาน และศึกษาผลกระทบของการรื้อย้ายที่มีต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ถูกรื้อย้ายจากชุมชนใต้สะพาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ การสำรวจภาคสนามและการสังเกต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อยู่อาศัยใน 3 ชุมชนคือ ชุมชนประชาอุทิศ 76 ชุมชนอ่อนนุช 3 และชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน จำนวนรวม 81 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า การย้ายที่ตั้งของชุมชนบุกรุกใต้สะพาน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนเปลี่ยนไป เนื่องจากการย้ายมาอยู่ที่แห่งใหม่ ห่างไกลจากแหล่งงานเดิม ทำให้ทั้ง 3 ชุมชนต้องเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานไกลขึ้น ชาวชุมชนประชาอุทิศ 76 เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในระยะทาง 22.6 กม. ใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้นเฉลี่ย 51 นาที และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นเฉลี่ย 42 บาทต่อวัน มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 7,011 บาท ในขณะที่ชุมชนอ่อนนุช 3 เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในระยะทาง 31 กม. ใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ย 52 นาที เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 31 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 5,748 บาท และชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในระยะทาง 20.3 กม. ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 47 นาที เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 42 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 8,719 บาท การที่ต้องทำงานหนักขึ้น รายจ่ายเพิ่มขึ้นแต่รายได้ลดลง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพ อาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ในชุมชนคือ อาชีพค้าขายโดยการเปิดร้านค้าในชุมชน ซึ่งให้ผลตอบแทนไม่มากนักและอาชีพขับรถแท็กซี่และจักรยานยนต์รับจ้าง ซึ่งให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ที่ชาวชุมชนทำ สรุปได้ว่าทั้ง 3 ชุมชนประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัยในชุมชนคือ ปัจจัยด้านอาชีพ แหล่งงานและการเข้าถึง ทำให้โอกาสในการมีงานทำและศักยภาพในการพัฒนาต่างกัน ชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุด รองลงมาชุมชนประชาอุทิศ 76 และชุมชนอ่อนนุช 3 มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจมากที่สุด จากปัญหาด้านเศรษฐกิจและความจำเป็นในการหาเลี้ยงชีพ ทำให้ความสัมพันธ์ภายในชุมชนแย่ลง มีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ส่วนด้านกายภาพที่อยู่อาศัยพบว่า สภาพบ้านของทั้ง 3 ชุมชนดีขึ้นหลังการรื้อย้าย ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หากประเมินความพึงพอใจของคนส่วนใหญ่ในชุมชนพบว่า มีความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน มีความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงในการอยู่อาศัย แต่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจและแหล่งงาน และเมื่อพิจารณากลับไปถึงวัตถุประสงค์ของโครงการพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนยังไม่ดีขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นเพราะยังอยู่ในช่วงปรับตัวในที่อยู่อาศัยใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาดูแลและสนับสนุนให้ชาวชุมชนมีอาชีพและรายได้ เพื่อให้ชาวชุมชนสามารถอยู่อาศัยในชุมชนได้โดยไม่ไปบุกรุกที่อื่นต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์, 2510- . (2545). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์, 2510- . 2545. "การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์, 2510- . "การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์, 2510- . การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|