ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยที่มีผลต่อการประนอมหนี้สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา : บริษัท กานดาเคหะ จำกัด |
นักวิจัย | : | อากาศ บุญอากาศ, 2512- |
คำค้น | : | บริษัทกานดาเคหะ จำกัด , สินเชื่อที่อยู่อาศัย , หนี้ , การประนอมหนี้ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บัณฑิต จุลาสัย , มานพ พงศทัต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740313787 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2303 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประนอมหนี้สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย โดยการเปรียบเทียบระหว่างสองโครงการของบริษัท กานดาเคหะ จำกัด คือโครงการกานดาคลาสสิควิลล์ที่ลงนามประนอมหนี้ และโครงการกานดาพาร์ควิลล์ที่ยังไม่ได้ลงนามประนอมหนี้ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อหาปัจจัยดังกล่าวจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ ผลการศึกษามีดังนี้ ความสำคัญของปัจจัยในการประนอมหนี้ที่พบ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญคือ 1) จำนวนเจ้าหนี้ 2) นโยบายเจ้าหนี้ 3) ศักยภาพโครงการ ส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องโครงกรกานดาคลาสสิควิลล์คือ 1) จำนวนเจ้าหนี้ 2) นโยบายเจ้าหนี้ 3) วิธีการประนอมหนี้ และโครงการกานดาพาร์ควิลล์คือ 1) จำนวนเจ้าหนี้ 2) นโยบายเจ้าหนี้ 3) การได้มาของหนี้ ปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันคือ จำนวนเจ้าหนี้ โดยหนี้ที่มีจำนวนเจ้าหนี้น้อย ย่อมที่จะตกลงกันง่ายกว่าหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย นโยบายเจ้าหนี้ แม้ว่าโครงการจะมีศักยภาพที่ดี หรือเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้รายเดียว แต่หากเจ้าหนี้ไม่มีนโยบายที่จะประนอมหนี้แล้ว ก็ไม่สามารถทำได้ ส่วนปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องเห็นแตกต่างกัน โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ศักยภาพโครงการ เพราะในขั้นตอนเริ่มต้นของการประนอมหนี้คือการประเมินราคาหลักประกันและศักยภาพของหลักประกันว่าพอที่จะทำรายได้ หากโครงการที่มีศักยภาพดี โอกาสที่จะประนอมหนี้และเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้คืนจะมากกว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการกานดาคลาสสิควิลล์เห็นว่า วิธีการประนอมหนี้ มีความสำคัญเนื่องจากเจ้าหนี้ได้กำหนดวิธีการประนอมหนี้ให้สอดคล้องกับธุรกิจของลูกหนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการกานดาพาร์ควิลล์เห็นว่า การได้มาของหนี้ เป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากเจ้าหนี้แต่ละรายที่รับโอนหนี้มา มีวิธีการคิกส่วนเสียต่างกัน ทำให้การจัดการหนี้ตางกัน เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างโครงการที่ลงนามประนอมหนี้ และยังไม่ลงนามประนอมหนี้ปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกันของทั้งสองโครงการคือวิธีการประนอมหนี้ และการได้มาของหนี้ ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีประเด็นหลักมาจากเจ้าหนี้ กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่เจ้าหนี้มีส่วนสร้างขึ้น และเมื่อรวมกับสองปัจจัยที่ทั้งหมดเห็นตรงกัน ได้แก่ นโยบายเจ้าหนี้และจำนวนเจ้าหนี้แล้วจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการประนอมหนี้มาจากทางด้านเจ้าหนี้ |
บรรณานุกรม | : |
อากาศ บุญอากาศ, 2512- . (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการประนอมหนี้สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา : บริษัท กานดาเคหะ จำกัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อากาศ บุญอากาศ, 2512- . 2544. "ปัจจัยที่มีผลต่อการประนอมหนี้สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา : บริษัท กานดาเคหะ จำกัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อากาศ บุญอากาศ, 2512- . "ปัจจัยที่มีผลต่อการประนอมหนี้สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา : บริษัท กานดาเคหะ จำกัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. อากาศ บุญอากาศ, 2512- . ปัจจัยที่มีผลต่อการประนอมหนี้สินเชื่อโครงการที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา : บริษัท กานดาเคหะ จำกัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|