ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปในผู้ป่วยไทยที่ได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน ในการปฏิสนธินอกร่างกาย |
นักวิจัย | : | กาญจน์พัฒน์ แจ่มมีชัย, 2521- |
คำค้น | : | โกนาโดโทรปิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรอนงค์ อร่ามวิทย์ , กำธร พฤกษานานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759223 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2088 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian hyperstimulation syndrome ; OHSS) ของผู้ป่วยไทยที่ได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน เพื่อกระตุ้นรังไข่ในการปฏิสนธินอกร่างกาย ทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีบุตรยาก และได้รับการรักษาโดยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว และการฉีดอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่หรือการทำ ICSI ณ หน่วยชีววิทยาการเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 จำนวน 117 ราย ทำการรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ผู้ป่วย ร่วมกับศึกษาข้อมูลการรักษาจากเวชระเบียนของหน่วย ปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษา 7 ปัจจัย ได้แก่ อายุดัชนีมวลร่างกาย ระดับ Estradiol ก่อนฉีด HCG จำนวนฟอลลิเคิลทั้งหมดหลังกระตุ้น จำนวนไข่ที่เก็บได้ทั้งหมด ขนาดยา ภาวะ Polycystic ovary syndrome แบ่งระดับความรุนแรงของ OHSS ตามเกณฑ์ของ Golan A. ทำการเก็บข้อมูลเฉพาะ OHSS ในระดับปานกลางและรุนแรงเท่านั้น เนื่องจากเป็นระดับอาการที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน 2 ชนิด คือ Follitropin-beta (Puregon[superscript (R)]) ร้อยละ 84.6 หรือ Follitropin-alpha (Gonal-F[superscript (R)]) ร้อยละ 15.4 หลังจากได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน ผู้ป่วยจำนวน 14 ราย เกิด OHSS คิดเป็นร้อยละ 12.0 โดยจัดอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 11.1) และระดับรุนแรง จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.9) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วยสถิติ Chi-square test และด้วย Independent t-test พบว่า ปัจจัยที่ทำการศึกษาทั้ง 6 ปัจจัย (ยกเว้นขนาดยา) ปริมาณเม็ดเลือดขาวและนิวโทรฟิลหลังได้รับยาโกนาโดโทรปินมีความแตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่เกิดและไม่เกิด OHSS และเมื่อนำปัจจัยดังกล่าวไปวิเคราะห์ต่อด้วยวิธี Multiple logistic regression analysis พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด OHSS คือ ระดับ E[subscript 2] ในวันสุดท้ายก่อนฉีด HCG และจำนวนไข่ที่เก็บได้ทั้งหมดโดยมีค่า odds ratio เป็น 1.149 และ 1.744 ตามลำดับ การใช้ตัวแปรทั้งสองร่วมกันในการพิจารณา สามารถทำนายการเกิดได้ร้อยละ 89.5 โดยเกณฑ์ที่เหมาะสมในการติดตามผู้ป่วย คือ ระดับ E[subscript 2] ก่อนฉีด HCG มากกว่า 4,500 พิโคกรัม/มิลลิลิตร ร่วมกับจำนวนไข่ที่เก็บได้มากกว่าหรือเท่ากับ 15 ใบ ซึ่งให้ค่าความไวร้อยละ 75.0 ค่าความจำเพาะร้อยละ 100.0 ค่าคาดการณ์เชิงบวก ร้อยละ 100.0 และค่าคาดการณ์เชิงลบร้อยละ 97.2 ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
กาญจน์พัฒน์ แจ่มมีชัย, 2521- . (2547). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปในผู้ป่วยไทยที่ได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน ในการปฏิสนธินอกร่างกาย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กาญจน์พัฒน์ แจ่มมีชัย, 2521- . 2547. "ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปในผู้ป่วยไทยที่ได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน ในการปฏิสนธินอกร่างกาย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กาญจน์พัฒน์ แจ่มมีชัย, 2521- . "ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปในผู้ป่วยไทยที่ได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน ในการปฏิสนธินอกร่างกาย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. กาญจน์พัฒน์ แจ่มมีชัย, 2521- . ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปในผู้ป่วยไทยที่ได้รับยากลุ่มโกนาโดโทรปิน ในการปฏิสนธินอกร่างกาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|