ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
นักวิจัย | : | วรวรรณ บุญประเทือง, 2513- |
คำค้น | : | บริบาลเภสัชกรรมของโรงพยาบาล--ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นารัต เกษตรทัต , สมฤทัย ระติสุนทร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741700555 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2029 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานตามปรัชญาการบริบาลทางเภสัชกรรม และศึกษาถึงผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนดในด้านต่างๆ คือ จำนวนและชนิดของปัญหาด้านยาที่พบและที่ได้รับการแก้ไขหรือป้องกัน รวมทั้งทัศนคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อการบริการ โดยทำการศึกษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 ถึง มกราคม 2545 จากการปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่ การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยด้วยยาเพื่อระบุ แก้ไขและป้องกันปัญหาจากการใช้ยา ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเข้าร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นในการดูแลผู้ป่วย ให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และให้บริการเภสัชสนเทศ พบว่าเมื่อเภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยจำนวน 192 ราย สามารถระบุปัญหาจากการใช้ยาได้ 155 ปัญหา ในผู้ป่วย 56 ราย (ร้อยละ 29.2) ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนในกระบวนการใช้ยา 76 ปัญหา (ร้อยละ 49.0) โดยพบอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2.3 และเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องจากยา 79 ปัญหา (ร้อยละ 51.0) โดยปัญหาจากการใช้ยาที่ระบุได้ทั้งหมดสามารถดำเนินการป้องกันก่อนเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 60.0 เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขร้อยละ 28.4 และปัญหาที่ต้องติดตามเฝ้าระวังร้อยละ 11.6 ปัญหาที่พบได้มากที่สุดคืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ร้อยละ 39.3) รองลงมาคือปัญหาผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้รับซึ่งเท่ากับปัญหาผู้ป่วยได้รับยาไม่เหมาะสม (ร้อยละ 16.4) กลุ่มยาต้านจุลชีพเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ยามากที่สุด ( ร้อยละ 30.3 ) เมื่อพิจารณาเฉพาะปัญหาที่เกิดเนื่องจากยา 79 ปัญหา พบว่าร้อยละ 70.9 เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ โดยเภสัชกรสามารถดำเนินการป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ร้อยละ 57.2 สำหรับการยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีต่อข้อเสนอแนะของเภสัชกรในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา พบว่าร้อยละ 90.6 เห็นด้วยและมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะของเภสัชกร ร้อยละ 1.9 ยอมรับบางส่วน และร้อยละ 7.5 ไม่ยอมรับ การสำรวจทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าบุคลากรทางการแพทย์มีทัศนคติที่ดีต่อการมีเภสัชกรเข้าร่วมทีมการรักษา และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรบนหอผู้ป่วย การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์แบบสหสาขาวิชาชีพนั้น เภสัชกรมีบทบาทในการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย โดยมีหน้าที่หลักคือ การระบุ และดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา จะช่วยป้องกันและลดผลเสียจากยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย |
บรรณานุกรม | : |
วรวรรณ บุญประเทือง, 2513- . (2544). การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรวรรณ บุญประเทือง, 2513- . 2544. "การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรวรรณ บุญประเทือง, 2513- . "การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. วรวรรณ บุญประเทือง, 2513- . การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|