ชื่อเรื่อง | : | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก |
นักวิจัย | : | เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์, 2507- |
คำค้น | : | การดูแลตนเอง , เคมีบำบัด , เยื่อบุช่องปากอักเสบ , มะเร็ง--ผู้ป่วย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชนกพร จิตปัญญา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745318019 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1922 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอกภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 1, 2 และ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งที่มารับเคมีบำบัด ที่ศูนย์เคมีบำบัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2548 จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ ชนิดของเคมีบำบัดที่ได้รับ สภาพช่องปากก่อนการทดลอง วิธีการรักษาอื่นที่ร่วมด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วยการสร้างสัมพันธภาพ การให้ข้อมูล การฝึกทักษะปฏิบัติและการส่งเสริมสนับสนุน โดยใช้แผนการสอนเกี่ยวกับการดูแลช่องปากร่วมกับแผ่นภาพประกอบการสอน การฝึกทักษะปฏิบัติ และคู่มือการดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด โดยโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินเยื่อบุช่องปากอักเสบของ Sonis et al. (1999) ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงวุฒิ และค่าความเที่ยงของการสังเกตได้เท่ากับ .974 เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบวัดพฤติกรรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงวุฒิ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .785 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 1 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบภายหลังได้รับเคมีบำบัดครั้งที่ 3 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองสามารถลดความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด |
บรรณานุกรม | : |
เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์, 2507- . (2547). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์, 2507- . 2547. "ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์, 2507- . "ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์, 2507- . ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|