ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด |
นักวิจัย | : | พิชญดา คงศักดิ์ตระกูล, 2513- |
คำค้น | : | มะเร็ง--เคมีบำบัด , ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) , ความล้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุรีพร ธนศิลป์ , อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741761821 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1918 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว ภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยใช้แบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd et al.(2001) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่ศูนย์มะเร็ง ชลบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลรามาธิบดีศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ธัญญบุรี จำนวน 120 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินกลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ป่วยแบบประเมินกลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยพยาบาล แบบประเมินการสนับสนุนจากครองครัว และแบบประเมินภาวะการทำหน้าที่ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด โดยวิธีของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .89 .68 .75 .95 .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยค่าอีต้า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์มีอาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 6.16+-1.51) 2. กลยุทธ์การจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.83+-.47) 3. กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยพยาบาลอยุ่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.51+-.77) 4. การสนับสนุนจากครอบครัวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอยู่ในระดับมาก ([Mean] = 3.99+-.47) 5. ภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด อยู่ในระดับน้อย ([Mean] = 2.38+-.85) 6. ชนิดของโรคมะเร็งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับภาวะการทำหน้าที่ (r = .231) และพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีภาวะการทำหน้าที่มากกว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ([Mean][subscript เต้านม] = 2.52, [Mean] = 2.22, t = 2.581, p < .05) 7. ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.430, p < .05) 8. กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยผู้ป่วย กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้าโดยพยาบาลและการสนับสนุนจากครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะการทำหน้าที่ (p > .05) |
บรรณานุกรม | : |
พิชญดา คงศักดิ์ตระกูล, 2513- . (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิชญดา คงศักดิ์ตระกูล, 2513- . 2547. "ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิชญดา คงศักดิ์ตระกูล, 2513- . "ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. พิชญดา คงศักดิ์ตระกูล, 2513- . ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคมะเร็ง ประสบการณ์การมีอาการเหนื่อยล้า กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า การสนับสนุนจากครอบครัว กับภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|