ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง |
นักวิจัย | : | ตวงรัตน์ แซ่เตียว, 2519- |
คำค้น | : | ความเครียด (จิตวิทยา) , การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง , ผู้ดูแล , ผู้ป่วยจิตเภท |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จินตนา ยูนิพันธุ์ , อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741739028 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1886 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คือรายได้ของครอบครัว การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรังที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 180 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการเผชิญความเครียด แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และแบบสอบถามภาวะสุขภาพ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .72, .74, .72 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรังโดยรวมอยู่ในระดับดี ([Mean] = 3.53) โดยในด้านภาวะสุขภาพทางกายอยู่ในระดับดี ([Mean] = 3.90) และภาวะสุขภาพทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.95) 2) รายได้ของครอบครัว การเผชิญความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง 3) การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
ตวงรัตน์ แซ่เตียว, 2519- . (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตวงรัตน์ แซ่เตียว, 2519- . 2546. "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตวงรัตน์ แซ่เตียว, 2519- . "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ตวงรัตน์ แซ่เตียว, 2519- . ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|