ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | วิมลพร ไสยวรรณ, 2512- |
คำค้น | : | การบริหารความเสี่ยง , โรงพยาบาล -- การบริหาร , การบริหารแบบมีส่วนร่วม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วราภรณ์ ชัยวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741709854 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1831 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--, 2545 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยการสัมภาษณ์ความเสี่ยงและการสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างในการทำสนทนากลุ่มคือ หัวหน้าพยาบาล พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 5 ปีขึ้นไป นักวิชาการด้านการบริหารความเสี่ยง นักวิชาการด้านการบริหารทางการพยาบาล และนักวิชาการด้านการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาล จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ที่ห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลา 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดในห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการไปใช้ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการอันเนื่องมาจากการให้บริการโดยตรง 5 เรื่อง คือ 1) ผู้ใช้บริการได้รับยา/เลือดและสารน้ำผิดพลาด 2) ผู้ใช้บริการได้รับบาดเจ็บจากการผูกมัด 3) ผู้ใช้บริการตกเตียง/ลื่นหกล้ม 4)ผู้ใช้บริการได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายจากการที่พยาบาลใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่ถูกวิธี หรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ชำรุด และ 5) ผู้ใช้บริการได้รับการพยาบาลผิดคน รูปแบบการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วย นโยบาย วัตถุประสงค์ ผู้รับผิดชอบ บทบาทและหน้าที่ และ กระบวนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาความเสี่ยง 2) การวิเคราะห์ความเสี่ยง 3) วิธีการจัดการความเสี่ยง และ 4)การประเมินผล โดยแต่ละขั้นตอนจะกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา วัตถุประสงค์ ลักษณะกิจกรรม 2. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงรายรวมมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ ด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านวิธีการจัดการความเสี่ยง และด้านการประเมินผล มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ส่วนด้านการค้นหาความเสี่ยงไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 |
บรรณานุกรม | : |
วิมลพร ไสยวรรณ, 2512- . (2545). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมลพร ไสยวรรณ, 2512- . 2545. "การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมลพร ไสยวรรณ, 2512- . "การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. วิมลพร ไสยวรรณ, 2512- . การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|