ชื่อเรื่อง | : | พัฒนาการของการก่อสร้างโบราณสถานไทย |
นักวิจัย | : | พรทิพย์ ตั้งเจริญทรัพย์, 2525- |
คำค้น | : | การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์) , การก่อสร้าง , ไทย--โบราณสถาน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745317152 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1651 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปี โบราณสถานที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ล้วนแสดงถึงระดับเทคโนโลยีการก่อสร้างในอดีตได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ได้เสื่อมสภาพลง การบูรณปฏิสังขรณ์นั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลด้านวิศวกรรมในการออกแบบเพื่อการบูรณะ ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาข้อมูลเหล่านี้ ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาโบราณสถานในเชิงวิศวกรรมโดยอ้างอิงถึงยุคสมัย ซึ่งจะมีประโยชน์ในการซ่อมแซมบูรณะโบราณสถานและงานด้านวิศวกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะรายงานการขุดแต่งโบราณสถานของกรมศิลปากร และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเรียงตามลำดับเวลาการก่อสร้าง และการวิเคราะห์ส่วนของโครงสร้างฐานราก โครงสร้างตัวอาคารและโครงสร้างหลังคา แล้วจึงนำมาวิเคราะห์พัฒนาการของแต่ละส่วนโครงสร้าง ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า โครงสร้างฐานรากมีการบดอัดชั้นดินเพื่อรับน้ำหนักตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย และมีการก่อฐานแผ่รับน้ำหนักซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ต่อมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้โครงสร้างฐานรากในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้ไม้ซุงวางเป็นตารางในฐานแผ่ การใช้โอ่งในการทำฐานราก รวมไปถึงการใช้เข็มไม้และคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นฐานรากลึกด้วย โครงสร้างหลักของอาคารประเภทเจดีย์ ป้อม ประตูเมือง พบว่ามีการใช้ระบบผนังรับนักหนักตั้งแต่ก่อนสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนในอาคารประเภทโบสถ์วิหารสมัยก่อนสุโขทัยใช้ระบบผสม ต่อมาสมัยสุโขทัยจึงใช้ระบบเสา-คาน และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเสา-คาน ส่วนโครงสร้างหลังคาพบว่ามีการใช้โครงสร้างระบบก่อเหลื่อมมาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย และใช้โครงสร้างหลังคาจั่วแบบเครื่องประดุซึ่งใช้ต่อเนื่องมาจนสมัยอยุธยา โดยในสมัยอยุธยาได้ใช้ร่วมกับระบบจันทันด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการใช้โครงสร้างเหล็กและคอนกรีตเสริมเหล็ก ในการก่อสร้างโครงหลังคา รวมทั้งระบบโครงถักด้วย |
บรรณานุกรม | : |
พรทิพย์ ตั้งเจริญทรัพย์, 2525- . (2547). พัฒนาการของการก่อสร้างโบราณสถานไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรทิพย์ ตั้งเจริญทรัพย์, 2525- . 2547. "พัฒนาการของการก่อสร้างโบราณสถานไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรทิพย์ ตั้งเจริญทรัพย์, 2525- . "พัฒนาการของการก่อสร้างโบราณสถานไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. พรทิพย์ ตั้งเจริญทรัพย์, 2525- . พัฒนาการของการก่อสร้างโบราณสถานไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|