ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาเทคนิคการหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับวิเคราะห์ขอบเขตพลาสติก |
นักวิจัย | : | วุฒินันต์ ประทุม, 2523- |
คำค้น | : | การกำหนดเชิงตัวเลข , การโปรแกรมไม่เชิงเส้น , ปฐพีกลศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บุญชัย อุกฤษฏชน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745317403 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1586 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคำนวณเชิงตัวเลขของทฤษฎีขอบเขตล่างหลักการนี้มีพื้นฐานมาจากวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบแยกชิ้นส่วนและทฤษฎีขอบเขตพลาสติก รูปแบบของระบบสมการที่ได้อยู่ในรูปของปัญหาการหาค่าที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นฟังก์ชันแบบไม่เชิงเส้นตรง ตัวแปรไม่ทราบค่าของระบบคือค่าหน่วยแรงภายในมวลดิน สมการข้อจำกัดของระบบประกอบด้วย สมดุลของหน่วยแรงภายในชิ้นส่วน สมดุลของหน่วยแรงบนขอบไม่ต่อเนื่องระหว่างชิ้นส่วน และสมดุลของแรงที่ขอบเขตมวลดิน อสมการข้อจำกัดของระบบพิจารณาจากฟังก์ชันขอบเขตการวิบัติของมวลดิน ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ฟังก์ชันการวิบัติแบบมอร์-คูลอมบ์ ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ของระบบสามารถพิจารณาได้ 2 แบบคือ การวิเคราะห์หาแรงกระทำภายนอกและการวิเคราะห์หาหน่วยน้ำหนักของมวลดิน กระบวนการวิเคราะห์หาผลเฉลยใช้หลักการของคุน-ตัคเกอร์ออบติมอลิตี้ คอนดิชัน และวิธีการของนิวตันเป็นพื้นฐาน ระบบการคำนวณที่พัฒนาขึ้นได้นำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์และทดสอบปัญหา 3 แบบคือ ปัญหาความสามารถในการรับแรงแบกทานของฐานรากต่อเนื่อง ปัญหาเสถียรภาพของมวลดินในแนวดิ่ง และปัญหาเสถียรภาพของอุโมงค์ในชั้นดินเหนียว สำหรับปัญหาฐานรากต่อเนื่องผลเฉลยที่ระบบการคำนวณวิเคราะห์ได้มีค่าคลาดเคลื่อนจากผลเฉลยแม่นตรง 3.9% สำหรับดินที่ไม่มีค่ามุมเสียดทานภายในมวลดินและคลาดเคลื่อน 8.3% สำหรับดินที่มีค่ามุมเสียดทานภายในมวลดิน สำหรับปัญหาอื่นๆ ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีความสอดคล้องเป็นอย่างดีกับผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมาในอดีต นอกจากนี้ยังได้ทดสอบระบบการคำนวณกับปัญหาตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาฐานรากต่อเนื่องวางบนชั้นดินที่มีค่ากำลังแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามความลึก ปัญหาเสถียรภาพของมวลดินในแนวดิ่งแบบมีค้ำยันด้านข้าง ปัญหาเสถียรภาพของอุโมงค์ในชั้นดินเหนียวที่มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามความลึก โดยผลการวิเคราะห์ที่ได้จากระบบการคำนวณมีค่าสอดคล้องกับผลเฉลยของค่าขอบเขตล่างและขอบเขตบนที่ได้จากงานวิจัยที่ผ่านมาแล้ว และในบางกรณีผลการวิเคราะห์ที่ได้จากระบบที่พัฒนาขึ้นให้ค่าขอบเขตล่างที่ดีกว่าผลการวิเคราะห์ในอดีต |
บรรณานุกรม | : |
วุฒินันต์ ประทุม, 2523- . (2547). การพัฒนาเทคนิคการหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับวิเคราะห์ขอบเขตพลาสติก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วุฒินันต์ ประทุม, 2523- . 2547. "การพัฒนาเทคนิคการหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับวิเคราะห์ขอบเขตพลาสติก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วุฒินันต์ ประทุม, 2523- . "การพัฒนาเทคนิคการหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับวิเคราะห์ขอบเขตพลาสติก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. วุฒินันต์ ประทุม, 2523- . การพัฒนาเทคนิคการหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับวิเคราะห์ขอบเขตพลาสติก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|