ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาวิธีพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าและการปล่อยน้ำ ในภาวะน้ำหลากของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ |
นักวิจัย | : | ไพศาล ช่วยแท่น, 2520- |
คำค้น | : | อ่างเก็บน้ำ--การจัดการ , อุทกวิทยา , เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ทวนทัน กิจไพศาลสกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745317241 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1523 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งในช่วงฤดูน้ำหลาก (ส.ค.-พ.ย.) สภาพน้ำหลากมีความผันแปรสูง ประกอบกับอ่างเก็บน้ำมีขนาดความจุเพียง 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย โดยวิธีการปล่อยน้ำที่เหมาะสมสามารถช่วยลดปัญหาน้ำท่วมด้านท้ายน้ำได้ ที่ผ่านมารูปแบบของการปล่อยน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ ได้ใช้เกณฑ์ปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำกับเหตุการณ์น้ำหลากทุกขนาด ทำให้การปล่อยน้ำไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์น้ำหลากที่เกิดขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้พัฒนาวิธีการปล่อยน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์น้ำหลากที่เกิดขึ้น มีการประยุกต์ใช้ผลการพยากรณ์อัตราการไหลน้ำท่าล่วงหน้า ร่วมกับวิธีการปล่อยน้ำ รวมถึงการพัฒนาเกณฑ์ปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำ และศึกษาความสามารถของอ่างเก็บน้ำในการรองรับน้ำหลาก การพัฒนาวิธีการพยากรณ์ได้ใช้แบบจำลอง ANN แบบ BPNN และใช้แบบจำลองอนุกรมเวลาแบบ AR รวมทั้งกราฟความสัมพันธ์แบบต่างๆ มีการพยากรณ์น้ำท่าใน 5 พื้นที่ย่อย มีการเปรียบเทียบตัวแปรนำเข้าระหว่างกรณีใช้อัตราการไหลน้ำท่ารายวัน ร่วมกับปริมาณน้ำฝนรายวันเฉลี่ย และกรณีใช้อัตราการไหลน้ำท่ารายวันเพียงอย่างเดียว พบว่าสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า 1-13 วัน ประสิทธิภาพของการพยากรณ์ทั้งในช่วงของการปรับเทียบและสอบทาน สูงกว่า 84% การพัฒนาเกณฑ์ปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำ ใช้สมการการปล่อยน้ำในช่วงเวลาที่เหลือร่วมกับสมการสมดุลน้ำ จากนั้นได้มีการศึกษาความสามารถของอ่างเก็บน้ำ ในการรองรับน้ำหลากของเหตุการณ์น้ำหลากจริง 30 ปีย้อนหลัง และน้ำหลากออกแบบ พบว่าวิธีการปล่อยน้ำที่เหมาะสม ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.-10 ก.ย. ใช้เกณฑ์ RC0300 หรือ RC2546 ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย.-15 ต.ค. ใช้เกณฑ์ RCO400 และหลังจากวันที่ 15 ต.ค. ถึงสิ้นฤดูน้ำหลากในเกณฑ์ RC0500 การพัฒนาวิธีการปล่อยน้ำโดยคำนึงถึงปริมาณน้ำท่าไหลเข้าในช่วงเวลาที่เหลือ ความจุเก็บกักที่เหลือและเวลาที่เหลือร่วมกับสมการสมดุลน้ำ พบว่าสามารถเปลี่ยนแปลงชลภาพของอัตราการปล่อยน้ำ ให้มีการกระจายตัวสม่ำเสมอขึ้น สามารถลดยอดน้ำหลากสูงสุดได้ที่เฉลี่ย 47.2% และสามารถช่วยเพิ่มการเก็บกักน้ำช่วงปลายฤดูน้ำหลากให้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ผลการพยากรณ์ อัตราการไหลน้ำท่าเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯ ล่วงหน้า 1-13 วัน ร่วมกับวิธีการปล่อยน้ำที่พัฒนาขึ้น พบว่าสามารถลดยอดน้ำหลาก จากกรณีไม่ใช้การพยากรณ์ล่วงหน้า ได้ดีกับเหตุการณ์น้ำหลากสูงมาก ซึ่งลดได้ประมาณ 2.39-29.54% |
บรรณานุกรม | : |
ไพศาล ช่วยแท่น, 2520- . (2547). การพัฒนาวิธีพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าและการปล่อยน้ำ ในภาวะน้ำหลากของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพศาล ช่วยแท่น, 2520- . 2547. "การพัฒนาวิธีพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าและการปล่อยน้ำ ในภาวะน้ำหลากของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพศาล ช่วยแท่น, 2520- . "การพัฒนาวิธีพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าและการปล่อยน้ำ ในภาวะน้ำหลากของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ไพศาล ช่วยแท่น, 2520- . การพัฒนาวิธีพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าและการปล่อยน้ำ ในภาวะน้ำหลากของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|