ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเบื้องต้นถึงการประยุกต์ใช้วิธีทำซ้ำกับวิธีประจุพื้นผิว |
นักวิจัย | : | นิติพงศ์ ปานกลาง, 2519- |
คำค้น | : | การวิเคราะห์เชิงตัวเลข , สนามไฟฟ้า , วิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บุญชัย เตชะอำนาจ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759444 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1497 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการประยุกต์ใช้วิธีทำซ้ำเพื่อแก้ระบบสมการเชิงเส้นจากการคำนวณสนามไฟฟ้าด้วยวิธีประจุพื้นผิว การใช้วิธีทำซ้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ข้อจำกัดในการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นมีขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีการทั่วๆ ไป เช่น วิธีกำจัดแบบเกาส์ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางหน่วยความจำ วิธีทำซ้ำที่ใช้เป็นวิธีทำซ้ำแบบไม่คงตัว ได้แก่ วิธีเกรเดียนต์สังยุค วิธีเกรเดียต์สังยุคคู่ วิธีตกค้างต่ำสุดแบบวางนัยทั่วไป และวิธีเกรเดียนต์สังยุคคู่แบบเสถียร การลดเวลาการคำนวณหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นด้วยวิธีทำซ้ำอาศัยตัวปรับสภาพล่วงหน้า ตัวปรับสภาพล่วงหน้าที่ใช้ประกอบด้วย ตัวปรับสภาพล่วงหน้าแบบยาโคบี แบบเกาส์-ไซเดล แบบผ่อนปรนเกินสืบเนื่อง และแบบผ่อนปรนเกินสืบเนื่องสมมาตร การศึกษาทำบนแบบจำลองทรงกลมฉนวนภายใต้สนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ ผลการศึกษา พบว่า ที่สภาพยอมสัมพัทธ์ของทรงกลมเท่ากับ 4 วิธีทำซ้ำที่ใช้สามารถแก้ระบบสมการเชิงเส้น จากวิธีประจุพื้นผิวซึ่งเมตริกซ์สัมประสิทธิ์เป็นเมตริกซ์หนาแน่นไม่สมมาตรได้ เมื่อไม่ใช้ตัวปรับสภาพล่วงหน้า วิธีเกรเดียนต์สังยุคคู่แบบเสถียรเป็นวิธีที่มีอัตราการลู่เข้าของผลเฉลยดีที่สุด รอบการคำนวณที่ใช้เท่ากับ 6 รอบ และเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณเท่ากับ 5,940.98 วินาที เมื่อใช้ตัวปรับสภาพล่วงหน้า พบว่า ตัวปรับสภาพล่วงหน้าแบบผ่อนปรนเกินสืบเนื่องสมมาตรช่วยลดรอบการคำนวณลงเหลือ 2 รอบและเวลาคำนวณลดลงเหลือ 4,294.85 วินาที การเพิ่มค่าสภาพยอมสัมพัทธ์ภายในทรงกลมฉนวนทำให้รอบการคำนวณของวิธีทำซ้ำเพิ่มขึ้น กรณีค่าสภาพยอมสัมพัทธ์เท่ากับ 80 การใช้ตัวปรับสภาพล่วงหน้าแบบผ่อนปรนเกินสืบเนื่องสมมาตรร่วมกับวิธีเกรเดียนต์สังยุคคู่แบบเสถียรใช้รอบการคำนวณน้อยที่สุด รอบการคำนวณลดลงจาก 17 รอบเหลือ 9 รอบและเวลาคำนวณลดลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ |
บรรณานุกรม | : |
นิติพงศ์ ปานกลาง, 2519- . (2547). การศึกษาเบื้องต้นถึงการประยุกต์ใช้วิธีทำซ้ำกับวิธีประจุพื้นผิว.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิติพงศ์ ปานกลาง, 2519- . 2547. "การศึกษาเบื้องต้นถึงการประยุกต์ใช้วิธีทำซ้ำกับวิธีประจุพื้นผิว".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิติพงศ์ ปานกลาง, 2519- . "การศึกษาเบื้องต้นถึงการประยุกต์ใช้วิธีทำซ้ำกับวิธีประจุพื้นผิว."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นิติพงศ์ ปานกลาง, 2519- . การศึกษาเบื้องต้นถึงการประยุกต์ใช้วิธีทำซ้ำกับวิธีประจุพื้นผิว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|