ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการวัดความหยาบผิวไม้ยางพาราแปรรูป โดยวิธีการประมวลผลภาพ |
นักวิจัย | : | สัมภาษณ์ ศรีสุข, 2520- |
คำค้น | : | ไม้ยางพารา , การประมวลผลภาพ , ความหยาบผิว--การวัด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย พัวจินดาเนตร , Chulalongkorn University. Faculty of Engineering |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741725906 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1395 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 นำเสนอวิธีการตรวจสอบความหยาบผิวโดยวิธีการประมวลผลภาพ แทนการวัดความหยาบผิวชิ้นงานในยางพาราด้วยวิธีการสัมผัส ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหยาบผิว ที่วัดโดยเครื่องวัดความหยาบผิวที่ได้จากการประมวลผลจากภาพสแกน และศึกษาระดับความหยาบผิวไม้ยางพาราที่พนักงานไม่อาจจำแนกได้ โดยวิธีการสสัมผัส ในการทดลองได้ใช้ตัวอย่างชิ้นงานไม้ยางพาราจำนวน 100 ชิ้น และทำการกำหนดปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาได้แก่ ความเข้มสีของเนื้อไม้ซึ่งในการทดลองแบ่งออกเป็น 4 ระดับที่มีช่วงความเข้มสีเท่ากับ 175-185, 186-190, 191-195 และ 196-205 ความหยาบผิวของไม้ที่ผ่านการขัดด้วยเครื่องขัดกระดาษทราย 5 ระดับคือเบอร์ 100 150 180 240 และ 320 จากนั้นนำชิ้นงานำปทำการวัดค่าความหยาบผิวด้วยเครื่อง Stylus Probe Instrument ซึ่งจะได้ค่าความหยาบผิวจริง และนำชิ้นงานไปผ่านเครื่องสแกนที่ระดับความละเอียดเท่ากับ 600, 1200 และ 2400 dpi เพื่อคำนวณหาค่าความหยาบผิวภาพด้วยโปรแกรม Scion Image และกำหนดค่าความหยาบผิวสัมผัสจากคนงานจริงในโรงงานไม้แปรรูป หลังจากนั้นวิเคราะห์ความสัมพัทธ์ของค่าความหยาบผิวต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าค่าความละเอียดของเครื่องสแกน ไม่มีผลต่อค่าความหยาบผิวภาพขณะที่ความเข้มสีของไม้ยางพารา มีความสัมพันธ์กับความหยาบผิวภาพ และไม่มีความสัมพันธ์กับความสว่างของสีภาพ (GrayLevel) ส่วนค่าความหยาบผิวที่ได้จากการประมวลผลภาพ กับค่าความหยาบผิวจริงมีความสัมพันธ์กัน โดยทั้งหมดนี้มีค่านัยสำคัญ (alpha) เท่ากับ 0.05 ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นทางเลือก ในการหาค่าความหยาบผิวของไม้ยางพาราแปรรูป โดยไม่ต้องใช้วิธีการสัมผัส และการวัดค่าความหยาบผิวจากเครื่องมือวัดได้อีกวิธีหนึ่ง ทำให้สามารถลดความผิดพลาดจากการวัดความหยาบผิว โดยวิธีการสัมผัสของคนงานได้ ซึ่งเกณฑ์หยาบจะอยู่ที่ 5 ไมโครเมตรขึ้นไปเกณฑ์ละเอียดจะน้อยกว่า 3 ไมโครเมตร และระดับความหยาบผิวระหว่าง 3-5 ไมโครเมตร พนักงานจะไม่สามารถจำแนกความเรียบผิวได้ตรงกัน |
บรรณานุกรม | : |
สัมภาษณ์ ศรีสุข, 2520- . (2545). การศึกษาการวัดความหยาบผิวไม้ยางพาราแปรรูป โดยวิธีการประมวลผลภาพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์ ศรีสุข, 2520- . 2545. "การศึกษาการวัดความหยาบผิวไม้ยางพาราแปรรูป โดยวิธีการประมวลผลภาพ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์ ศรีสุข, 2520- . "การศึกษาการวัดความหยาบผิวไม้ยางพาราแปรรูป โดยวิธีการประมวลผลภาพ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. สัมภาษณ์ ศรีสุข, 2520- . การศึกษาการวัดความหยาบผิวไม้ยางพาราแปรรูป โดยวิธีการประมวลผลภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|