ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการตกตะกอนร่วมของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ |
นักวิจัย | : | ไชยนันต์ แท่งทอง, 2523 |
คำค้น | : | การตกตะกอน (เคมี) , การตกผลึก , แคลเซียม , แมกนีเซียมไอออน , แคลเซียมคาร์บอเนต , แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิทย์ สุนทรนันท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741710542 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1361 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาลักษณะการเกิดตะกอนร่วมระหว่างแคลเซียมคาร์บอเนต และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่แตกต่างไปจาก การเกิดตะกอนของสารเพียงชนิดเดียว และผลของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการเกิดตะกอนร่วม ผลจากการศึกษานี้พบว่าค่า pH ของการเกิดตะกอนร่วมจะมีค่าสูงกว่า การเกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต แต่ต่ำกว่าตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะมีผลให้ปริมาณของแคลเซียมไอออนที่เหลืออยู่ ในสารละลายมีค่าต่ำลง แต่มีปริมาณของแมกนีเซียมไอออนมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับค่า pH ของการเกิดตะกอนให้มีค่าเท่ากันจะทำให้ผลดังกล่าวหมดไป จากการสังเกตโครงสร้างของตะกอนที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่า ตะกอนร่วมมีลักษณะของการรวมตัวกัน ระหว่างผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ทำให้ตะกอนร่วมมีขนาดและความหนาแน่น มากกว่าตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ แต่น้อยกว่าตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งจะส่งผลให้ตะกอนร่วมตกตะกอนได้เร็วกว่า ตะกอนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์แต่ช้ากว่าตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระหว่างความเข้มข้น ของแคลเซียมต่อแมกนีเซียมไอออนในสารตั้งต้น และความเร็วรอบของการกวนจะส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อค่า pH ของการเกิดตะกอนร่วมและปริมาณของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ที่เหลืออยู่ในสารละลาย อันเป็นผลมาจากการกำหนดค่าไอออนิกสเตรงท์ในระบบให้มีค่าคงที่ แต่จะส่งผลให้ตะกอนร่วมมีขนาดเล็กลง เมื่อลดอัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นของแคลเซียม ต่อแมกนีเซียมในสารตั้งต้นและเพิ่มความเร็วรอบของการกวน ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วของการตกตะกอนลดลงด้วย อย่างไรก็ตามการเพิ่มความเร็วรอบของการกวน จนถึงค่าหนึ่งจะทำให้ความเร็วของการตกตะกอนมีค่าสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเกิดจากความหนาแน่นของตะกอนที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการรวมตัวกันระหว่างผลึก ของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่ดีขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
ไชยนันต์ แท่งทอง, 2523 . (2545). การศึกษาการตกตะกอนร่วมของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไชยนันต์ แท่งทอง, 2523 . 2545. "การศึกษาการตกตะกอนร่วมของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไชยนันต์ แท่งทอง, 2523 . "การศึกษาการตกตะกอนร่วมของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ไชยนันต์ แท่งทอง, 2523 . การศึกษาการตกตะกอนร่วมของแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|