ชื่อเรื่อง | : | การลดต้นทุนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบถอด-ประกอบได้ |
นักวิจัย | : | ภาวิณี อนุสรณ์เสรี, 2518- |
คำค้น | : | การควบคุมต้นทุนการผลิต , โรงงานผลิตเครื่องเรือนแบบถอด-ประกอบได้ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741715897 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1331 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและหาแนวทางในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบถอด-ประกอบได้ ซึ่งในปัจจุบันโรงงานตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตโดยการประมาณการค่าวัตถุดิบและค่าแรงงานที่เกิดขึ้นจริงและปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตลงในแต่ละผลิตภัณฑ์ตามสัดส่วนปริมาณการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ทำให้ต้นทุนการผลิตที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ในการศึกษาหาระบบต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมของโรงงานตัวอย่างนี้ ผู้วิจัยได้จัดทำระบบต้นทุนการผลิตแบบต้นทุนกระบวนการสำหรับสินค้า ได้แก่ ตู้ ขนาด 4 ฟุต 3 ลิ้นชัก และเตียง ขนาด 5 ฟุต เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีลูกค้าสั่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของสินค้าทั้งหมด โดยเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตและการจัดทำรูปแบบเอกสารที่ใช้สำหรับฝ่ายผลิตและเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเก็บบันทึกไว้ในแต่ละเดือน ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางตรง, ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งค่าใช้จ่ายการผลิตจะมีการปันส่วนเป็น 2 แบบ ได้แก่ การปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าสู่กระบวนการโดยใช้ ชั่วโมงแรงงานทางตรง เป็นตัวขับเคลื่อนต้นทุน และการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการ เป็นตัวขับเคลื่อนต้นทุน และนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณหาต้นทุนการผลิตต่อไปสำหรับการศึกษาเรื่องการลดต้นทุนการผลิตนั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านการผลิต พบว่าการสูญเสียในการผลิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสูญเสียวัตถุดิบและการสูญเสียเวลาจากการรอคอยงานในกระบวนการผลิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88 ของมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้น จึงหาวิธีการในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ได้เสนอไว้ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้, การวางแผนการผลิตและการจัดงานเข้าในแต่ละกระบวนการ ผลจากการนำระบบต้นทุนกระบวนการมาใช้ทำให้ทราบต้นทุนการผลิตของตู้ขนาด 4 ฟุต 3 ลิ้นชัก เท่ากับ 872.58 บาท/ตัว และเตียง ขนาด 5 ฟุต เท่ากับ 890.07 บาท/ตัว และจาก การดำเนินการตามแนวทางที่ได้เสนอแนะกับโรงงานตัวอย่างนี้ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตของตู้ ขนาด 4 ฟุต 3 ลิ้นชักลงได้ร้อยละ 13 จากการเปรียบเทียบข้อมูลต้นทุนการผลิตต่อหน่วยในช่วงก่อนปรับปรุง เท่ากับ 1,010.05 บาท/ตัว และช่วงหลังปรับปรุง เท่ากับ 872.58 บาท/ตัว |
บรรณานุกรม | : |
ภาวิณี อนุสรณ์เสรี, 2518- . (2545). การลดต้นทุนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบถอด-ประกอบได้.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาวิณี อนุสรณ์เสรี, 2518- . 2545. "การลดต้นทุนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบถอด-ประกอบได้".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาวิณี อนุสรณ์เสรี, 2518- . "การลดต้นทุนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบถอด-ประกอบได้."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ภาวิณี อนุสรณ์เสรี, 2518- . การลดต้นทุนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบถอด-ประกอบได้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|