ชื่อเรื่อง | : | ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนของการรู้จำเสียงพูดภาษาไทยโดยใช้เทคนิคลดสัญญาณรบกวนแบบปรับตัวได้ |
นักวิจัย | : | ณัฐพล อุ่นศรี, 2520- |
คำค้น | : | การรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ , สัญญาณรบกวนทางอิเล็กทรอนิกส์ , ภาษาไทย , การประมาณพันธะเชิงเส้น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย จิตะพันธ์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741721269 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1280 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนเกาส์เซียนขาวค่าเฉลี่ยศูนย์แบบบวก โดยใช้เทคนิคลดสัญญาณรบกวนแบบปรับตัวได้โดยใช้ค่าเจาะจงต่ำสุดของเมตริกซ์อัตสหสัมพันธ์ของสัญญาณเสียงพูดเป็นค่าพารามิเตอร์ในการปรับลดสัญญาณรบกวน เพื่อให้ระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทยมีความคงทนเมื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวน โดยใช้แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟชนิดต่อเนื่องสำหรับการฝึกฝนและทดสอบ ค่าลักษณะสำคัญพื้นฐานที่ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบประสิทธิภาพของค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนคือ สัมประสิทธิ์การประมาณพันธะเชิงเส้น และสัมประสิทธิ์เซปตรอล ชุดคำศัพท์ประกอบไปด้วยคำศัพท์จำนวน 50 คำแบ่งเป็น 6 ชุด ได้แก่ชุดคำศัพท์ตัวเลขศูนย์ถึงเก้าจำนวน 10 คำ ชุดคำศัพท์เสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงสามัญ จำนวน 8 คำ ชุดคำศัพท์เสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงเอก จำนวน 8 คำ ชุดคำศัพท์เสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงโท จำนวน 8 คำ ชุดคำศัพท์เสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงตรี จำนวน 8 คำ และชุดคำศัพท์เสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงจัตวา จำนวน 8 คำ ในการวิจัยนี้ได้ทดลองปรับเปลี่ยนจำนวนสถานะและจำนวน Gaussian mixture ของระบบเพื่อหาระบบที่เหมาะสมสำหรับการรู้จำเสียงพูด อีกทั้งยังทำการทดสอบเพื่อวิเคราะห์ผลของการทำเน้นล่วงหน้า ผลการทดสอบอัตราการรู้จำแบบไม่ขึ้นกับผู้พูดของชุดคำศัพท์ตัวเลขศูนย์ถึงเก้าเมื่อค่าอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนเป็น 0 เดซิเบลโดยใช้ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนมีค่าร้อยละ 38.00 เมื่ออัตราการรู้จำก่อนลดสัญญาณรบกวนมีค่าร้อยละ 10.42 อัตราการู้จำของชุดคำศัพท์เสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงสามัญ เอก โท ตรี และจัตวาเมื่อค่าอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนเป็น 0 เดซิเบลโดยใช้ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนมีค่าร้อยละ 31.65 33.64 38.69 34.26 และ 32.44 เมื่ออัตราการรู้จำก่อนลดสัญญาณรบกวนมีค่าร้อยละ 12.27 14.49 16.25 13.98 และ 13.75 ตามลำดับ อัตราการรู้จำเฉลี่ยสูงสุดของเสียงตัวเลขภาษาไทย โดยคำนวณจากการนำอัตราการรู้จำของแต่ละค่าลักษณะสำคัญในแต่ละอันดับสำหรับทุกค่า SNR มาทำการเฉลี่ยเป็นร้อยละ 62.95 ขณะที่อัตราการรู้จำเฉลี่ยสูงสุดก่อนปรับลดสัญญาณรบกวนเป็นร้อยละ 36.65 และอัตราการรู้จำเฉลี่ยสูงสุดของเสียงวรรณยุกต์ไทยเสียงสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา โดยคำนวณจากการนำอัตราการรู้จำของแต่ละค่าลักษณะสำคัญในแต่ละอันดับสำหรับทุกค่า SNR มาทำการเฉลี่ยเป็นร้อยละ 59.85 62.67 57.96 50.12 และ 55.33 ขณะที่อัตราการรู้จำเฉลี่ยสูงสุดก่อนปรับลดสัญญาณรบกวนเป็นร้อยละ 28.55 35.69 32.56 29.82 และ 34.26 ตามลำดับ อัตราการรู้จำเฉลี่ยสูงสุดของระบบเมื่อใช้ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนเป็นร้อยละ 57.68 ขณะที่อัตราการรู้จำเฉลี่ยรวมสูงสุดของระบบก่อนปรับลดสัญญาณรบกวนเป็นร้อยละ 32.28 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.69 |
บรรณานุกรม | : |
ณัฐพล อุ่นศรี, 2520- . (2545). ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนของการรู้จำเสียงพูดภาษาไทยโดยใช้เทคนิคลดสัญญาณรบกวนแบบปรับตัวได้.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐพล อุ่นศรี, 2520- . 2545. "ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนของการรู้จำเสียงพูดภาษาไทยโดยใช้เทคนิคลดสัญญาณรบกวนแบบปรับตัวได้".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฐพล อุ่นศรี, 2520- . "ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนของการรู้จำเสียงพูดภาษาไทยโดยใช้เทคนิคลดสัญญาณรบกวนแบบปรับตัวได้."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ณัฐพล อุ่นศรี, 2520- . ค่าลักษณะสำคัญแบบคงทนต่อสัญญาณรบกวนของการรู้จำเสียงพูดภาษาไทยโดยใช้เทคนิคลดสัญญาณรบกวนแบบปรับตัวได้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|