ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟจราจรในสภาพจราจรอิ่มตัว |
นักวิจัย | : | ทวี วิชัยเมธาวี, 2517- |
คำค้น | : | สัญญาณไฟจราจร -- การควบคุม , เครื่องหมายจราจร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สรวิศ นฤปิติ , สืบสกุล พิภพมงคล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741709102 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1232 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 พัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟที่มีประสิทธิภาพสำหรับสภาพจราจรอิ่มตัวและอิ่มตัวมาก โปรแกรมจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค PARAMICS ที่มีตัวกลางติดต่อสื่อสารกับโปรแกรมประยุกต์ (Application Programming Interface, API) ถูกนำมาใช้พัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟ หลักการของวิธีควบคุมสัญญาณไฟที่พัฒนาขึ้นคือ การปรับสัญญาณไฟให้สอดคล้องกับข้อมูลการจราจรแบบทันกาล และป้องกันการเกิดแถวคอยกีดขวางทางแยกต้นทาง วิธีควบคุมที่พัฒนาขึ้นได้ทดสอบบนโครงข่ายถนน ที่มีระยะห่างระหว่างทางแยกเท่ากันจำนวน 2 โครงข่าย โดยใช้ระยะห่างระหว่างทางแยก รูปแบบและปริมาณจราจรที่เข้าสู่ทางแยกแตกต่างกัน ตัววัดประสิทธิภาพของการควบคุม ได้แก่ จำนวนยวดยานที่ตกค้างในโครงข่าย จำนวนยวดยานที่ออกจากโครงข่าย ความเร็วเฉลี่ย เวลาหยุดนิ่ง ระยะทางที่ยวดยานวิ่งบนโครงข่ายรวม (คัน-กิโลเมตร) ระยะเวลาที่ยวดยานใช้ในโครงข่ายรวม (คัน-ชั่วโมง) และเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การปรับสัญญาณไฟที่เวลาที่เหมาะสมตั้งแต่ปริมาณจราจรเริ่มเพิ่มมากขึ้น สามารถช่วยบรรเทาสภาพจราจรติดขัดได้ดี แต่ถ้าการปรับสัญญาณไฟไม่เหมาะสมในช่วงเวลาที่ปริมาณจราจรเพิ่มขึ้น จะทำให้การจราจรติดขัดแผ่ขยายเป็นวงกว้างและใช้เวลานาน เพื่อปรับสภาพจราจรให้กลับสู่สภาวะปกติ ความยาวรอบสัญญาณไฟสูงสุดและจุดของเวลาที่ใช้เปลี่ยนวิธีควบคุม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพของวิธีควบคุม สำหรับสภาพการจราจรและโครงข่ายถนนที่ใช้ในการวิจัยนี้พบว่า ในสภาพจราจรอิ่มตัว วิธีควบคุมสัญญาณไฟแบบตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณจราจร โดยใช้ระดับความอิ่มตัวสูงสุดของแต่ละจังหวะสัญญาณไฟ จัดแบ่งช่วงเวลาสัญญาณไฟเขียวเป็นวิธีควบคุมที่ให้ประสิทธิภาพ ดีกว่าวิธีควบคุมสัญญาณไฟคงที่และวิธีควบคุมสัญญาณไฟแบบตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณจราจรโดยใช้ดัชนีความยาวแถวคอยสูงสุด จัดแบ่งช่วงเวลาสัญญาณไฟเขียว ในสภาพจราจรอิ่มตัวมาก วิธีควบคุมนี้ก็มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีใช้ความยาวรอบสัญญาณไฟสั้น และวิธีใช้พื้นที่ว่างหลังแถวคอย |
บรรณานุกรม | : |
ทวี วิชัยเมธาวี, 2517- . (2545). การพัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟจราจรในสภาพจราจรอิ่มตัว.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทวี วิชัยเมธาวี, 2517- . 2545. "การพัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟจราจรในสภาพจราจรอิ่มตัว".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทวี วิชัยเมธาวี, 2517- . "การพัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟจราจรในสภาพจราจรอิ่มตัว."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ทวี วิชัยเมธาวี, 2517- . การพัฒนาวิธีควบคุมสัญญาณไฟจราจรในสภาพจราจรอิ่มตัว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|