ชื่อเรื่อง | : | การหาพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองพฤติกรรมของดินชั้นสูง |
นักวิจัย | : | กรัณฑ์ กระแสสินธุ์ |
คำค้น | : | ดิน -- การวิเคราะห์ , ปฐพีกลศาสตร์ , ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บุญชัย อุกฤษฏชน , Seah, T. H. , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741725876 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1231 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาหาค่าพารามิเตอร์ของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ สำหรับแบบจำลองดินชั้นสูง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้แบบจำลองดิน MIT-E3 (MIT-E3, Whittle, 1987) เนื่องมาจากความสามารถในการจำลองพฤติกรรมจริงของดิน ทั้งในสภาวะอัดแน่นปกติในธรรมชาติ และสภาวะอัดแน่นเกินตัว รวมไปถึง Small Strain non-Linearity, Strain Softening และ Anisotropic Strength แบบจำลองดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากแบบจำลองความเค้นประสิทธิผล ซึ่งใช้แนวความคิดของ Critical State Soil Mechanics โดยพารามิเตอร์ที่ต้องการมีทั้งหมด 15 ตัว ตัวอย่างดินที่ใช้ทดสอบเก็บมาจากบริเวณ ถนนสายบางนา-บางปะกง กิโลเมตรที่ 29-800 ที่ความลึก 6 ถึง 7 เมตร ด้วยวิธี Fix Piston Sampling ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ผลจากการเก็บตัวอย่างดินพบว่าดินบริเวณนี้เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีทรายหรือเปลือกหอยปะปน และมีสมบัติพื้นฐานเช่น Water Content = 135% และ Plasticity Index = 73% นอกจากนั้นผลการทดสอบการอัดตัวคายน้ำ ยังแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างดินดังกล่าวอยู่ในสภาพอัดแน่นปกติ (OCR = 1.0) การหาพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลอง MIT-E3 นั้น ใช้การทดสอบทางปฐพีกลศาสตร์ชั้นสูง 3 การทดสอบ กล่าวคือ 1) การทดสอบการอัดตัวคายน้ำแบบความเครียดคงที่ (CRS) 2) การทดสอบแรงอัด 3 แกนแบบแรงกดจาก K0 (CK0UC, OCR = 1, 2) 3) การทดสอบแรงอัด 3 แกนแบบแรงดึงจาก K0 (CK0UE, OCR = 1) ซึงผลการทดสอบทั้ง 3 การทดสอบนั้น สามารถหาค่าพารามิเตอร์ 6 ตัวหลักได้โดยตรง จากนั้นนำพารามิเตอร์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการดังกล่าว มาร่วมในการศึกษาเชิงตัวแปร (Parametric Study) เพื่อหาพารามิเตอร์อีก 7 ตัว โดยที่พารามิเตอร์ที่เหลืออีก 2 ตัว ได้จากการสมมุติค่าเนื่องด้วยข้อจำกัดในการทดสอบ Resonant Column นอกจากนั้นยังทดสอบ CK0UC ที่ OCR เท่ากับ 1.5 และ 4 และ CIUC และ CIUE ที่ OCR เท่ากับ 1 เพื่อเป็นผลเปรียบเทียบความสามารถ ในการคาดคะเนพฤติกรรมของดิน จากผลการจำลองพฤติกรรมดินของแบบจำลอง MIT-E3 แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองดังกล่าว มีความแม่นยำค่อนข้างดีในการคาดคะเนพฤติกรรม ความเค้น ความเครียด และกำลังของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ทั้งในสภาวะอัดแน่นปกติ และสภาวะอัดแน่นเกกินตัว |
บรรณานุกรม | : |
กรัณฑ์ กระแสสินธุ์ . (2545). การหาพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองพฤติกรรมของดินชั้นสูง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรัณฑ์ กระแสสินธุ์ . 2545. "การหาพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองพฤติกรรมของดินชั้นสูง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรัณฑ์ กระแสสินธุ์ . "การหาพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองพฤติกรรมของดินชั้นสูง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. กรัณฑ์ กระแสสินธุ์ . การหาพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองพฤติกรรมของดินชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|