ชื่อเรื่อง | : | การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | ธนิต นาชัยเวียง, 2521- |
คำค้น | : | จราจรหนาแน่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ , ความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สรวิศ นฤปิติ , เรณู สุขารมณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740310133 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1163 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ปัญหาการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายๆ ด้าน การทราบมูลค่าความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดจากปัญหาการจราจรคับคั่งในรูปตัวเงิน ทำให้สามารถนำไปสู่การใช้มาตรการในการแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์หามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากปัญหาการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการประเมินมูลค่าด้วยการสอบถามประชาชนโดยตรง และใช้วิธีการตั้งคำถามแบบเสนอราคาแบบปิดสองครั้ง เพื่อใช้วัดค่าความยินดีจ่ายของประชาชนชนเพื่อการปรับปรุงสภาพการจราจรในกรุงเทพมหานคร สำหรับในการวิเคราะห์หามูลค่าความยินดีจ่าย ทำโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย Consored Logistic Regression โยใช้รูปแบบจำลอง Life Regression Model จากข้อมูลของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 784 ตัวอย่าง และผู้เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะจำนวน 421 ตัวอย่าง มูลค่าความยินดีจ่าย (WTP) เพื่อการปรับปรุงสภาพการจราจรในกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.64 บาทต่อเที่ยว สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล และเท่ากับ 21.73 บาทต่อเที่ยว สำหรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจัยที่กำหนดขนาดของค่าความยินดีจ่ายของผู้เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลคือ ระดับรายได้และการมีผู้ร่วมเดินทาง และปัจจัยที่กำหนดขนาดของค่าความยินดีจ่ายของผู้เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ คือ ระดับรายรายได้ โดยมีค่าประมาณการความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากปัญหาการจราจรคับคั่งในกรุงเทพฯ รวมประมาณ 165,400 ล้านบาทต่อปี (3,846 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบาย โดยเฉพาะการใช้มาตรการทางด้านราคากับผู้เดินทางเพื่อควบคุมหรือปรับเปลี่ยนความต้องการในการเดินทางของผู้เดินทาง อย่างไรก็ตาม การนำค่าเหล่านี้ไปใช้ต้องตระหนักว่าเป็นมูลค่าความยินดีจ่ายเพื่อขจัดปัญหาการจราจรคับคั่งให้หมดไปอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นสภาพการณ์ในอุดมคติ โดยมีสภาพการจราจรที่คล่องตัว โครงข่ายถนนที่ได้มาตรฐาน ระบบควบคุมการจราจรที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ สะดวก สบาย และเพียงพอกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน |
บรรณานุกรม | : |
ธนิต นาชัยเวียง, 2521- . (2544). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนิต นาชัยเวียง, 2521- . 2544. "การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนิต นาชัยเวียง, 2521- . "การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ธนิต นาชัยเวียง, 2521- . การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|