ชื่อเรื่อง | : | การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไอออนเอกเชนจ์เมมเบรนในอุตสาหกรรมคลอร์-อัลคาไล |
นักวิจัย | : | ธนเทพ วาสนาเพียรพงศ์, 2519- |
คำค้น | : | แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ , อุตสาหกรรมคลอร์-แอลคาไลน์ , เมมเบรนแลกเปลี่ยนไอออน , การแยกสลายด้วยไฟฟ้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ , ภานุ พรรณรักษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9740315321 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1143 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 กระบวนการอิเล็คโตรไลซิสโดยใช้เมมเบรน แยกโซเดียมคลอไรด์ให้เป็นโซเดียมไฮดรอกไซด์ และแก๊สคลอรีน เซลล์ที่ใช้เป็น AZEC อิเล็คโตรไลเซอร์ จากบริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เมมเบรนที่ใช้เป็นแบบพอลิเมอร์ผสม ซึ่งมีคุณสมบัติในการถ่ายเทโซเดียมไอออน จากการศึกษาหาความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพกระแสจากกระบวนการผลิต โดยการเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ในด้านแอโนด และความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ในด้านคาโธด ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ สามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าการถ่ายเทผ่านเมมเบรนของโซเดียมไอออน กับความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ใต้สภาวะที่ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ขาออกด้านแอโนด มากกว่า 220 กรัมต่อลิตร และอุณหภูมิของการอิเล็คโตรไลซิสคงที่ ที่ 90 องศาเซลเซียส พบว่าเมมเบรนมีการเลือกจำเพาะต่อโซเดียมไอออน ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพกระแสไฟฟ้าสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้การวิเคราะห์ผลจากอิเล็คโตรออสโมซิสที่จะทำให้เกิดการถ่ายเทของน้ำผ่านเมมเบรน จากด้านแอโนดไปด้านคาโธด ทราบว่าถ่ายเทของน้ำผ่านเมมเบรนจะเป็น 3.5 โมล ต่อโซเดียมไอออน ซึ่งได้จากการทดลองการหาอัตราการไหลของน้ำผ่านเมมเบรน การสร้างสมการทางคณิตศาสตร์ในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่องภายใต้สภาวะทรงตัวที่อุณหภูมิคงที่ ที่ 90 องศาเซลเซียส ได้มาจากการทำสมดุลมวลของระบบ ข้อมูลประสิทธิภาพกระแสเมื่อความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ขาออกด้านคาโธดเปลี่ยนไป และข้อมูลการถ่ายเทของน้ำผ่านเมมเบรน ที่ได้จากข้อมูลการผลิต สมการทางคณิตศาสตร์ได้ทำนายผลด้านขาออก ได้ใกล้เคียงเมื่อทำการเปรียบเทียบกับผลจากการเดินการผลิตจริง โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 3.7 เปอร์เซ็นต์ การนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาศึกษาการอิเล็คโตรไลซิส ที่ต่อแบบอนุกรม พบว่าช่วงที่ทำการศึกษานั้นไม่สามารถช่วยลดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ เมื่อเทียบกับการต่อแบบขั้นตอนเดียว |
บรรณานุกรม | : |
ธนเทพ วาสนาเพียรพงศ์, 2519- . (2544). การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไอออนเอกเชนจ์เมมเบรนในอุตสาหกรรมคลอร์-อัลคาไล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนเทพ วาสนาเพียรพงศ์, 2519- . 2544. "การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไอออนเอกเชนจ์เมมเบรนในอุตสาหกรรมคลอร์-อัลคาไล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนเทพ วาสนาเพียรพงศ์, 2519- . "การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไอออนเอกเชนจ์เมมเบรนในอุตสาหกรรมคลอร์-อัลคาไล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ธนเทพ วาสนาเพียรพงศ์, 2519- . การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไอออนเอกเชนจ์เมมเบรนในอุตสาหกรรมคลอร์-อัลคาไล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|