ชื่อเรื่อง | : | กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล |
นักวิจัย | : | พวงพนา คุณวัฒน์, 2519- |
คำค้น | : | การสื่อสารทางการเมือง , การต่อต้านรัฐบาล , การดื้อแพ่งของพลเมือง , สิทธิของพลเมือง , เขื่อนปากมูล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741728506 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/941 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาพัฒนาการของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล ศึกษากระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้าน และ ศึกษาการประเมินผลสื่อและข่าวสารของกลุ่มผู้คัดค้าน โดยมีแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองและสิทธิชุมชน และแนวคิดเรื่องสิทธิในการสื่อสารของพลเมืองเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาวบ้านมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อที่จะสื่อสารกับรัฐบาลและสาธารณะในหลายแนวทาง เช่น ยื่นหนังสือโดยตรงต่อรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ สร้างกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเปิดประเด็นสื่อสารกับสาธารณะ ตลอดจนสื่อสารผ่านสื่อมวลชนกระแสหลักและสื่อที่จัดทำขึ้นเอง เพื่อขยายความรับรู้ สร้างความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจให้กับสังคมในวงกว้าง สำหรับกระบวนการสื่อสารสาธารณะในระหว่างปี พ.ศ. 2543 พบว่าการเคลื่อนไหวในกรณียึดสันเขื่อน ปีนทำเนียบ และอดอาหาร ซึ่งมีลักษณะของการดื้อแพ่งและไม่เชื่อฟังรัฐ เป็นวิธีการที่มีผลต่อการสื่อสารกับสาธารณะเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิธีการเคลื่อนไหวดังกล่าวสามารถดึงดูดความสนใจของสื่อมวลชนและสังคม จนกระทั่งรัฐบาลเองหันมารับฟังและหาทางแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านในทีสุด ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้าน มีลักษณะของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (new social movement) ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นที่จะโค่นล้มอำนาจรัฐ แต่ต้องการสื่อสารเพื่อปกป้องสิทธิชุมชน และยืนยันในสิทธิของพลเมืองซึ่งมีสิทธิเลือกที่จะอยู่อย่างคงอัตลักษณ์ของกลุ่มไว้ นอกจากกระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านจะได้สร้างการเรียนรู้และบรรทัดฐานใหม่ๆ ให้กับสังคมในเรื่องของสิทธิแล้ว กระบวนการเคลื่อนไหวของชาวบ้านยังได้ก่อให้เกิดธรรมเนียมและรูปแบบใหม่ของการสื่อสาร เช่น การประชาพิจารณ์ และการจัดเวทีสาธารณะ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการเมืองและการสื่อสารในสังคมประชาธิปไตย อีกด้วย |
บรรณานุกรม | : |
พวงพนา คุณวัฒน์, 2519- . (2545). กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พวงพนา คุณวัฒน์, 2519- . 2545. "กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พวงพนา คุณวัฒน์, 2519- . "กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. พวงพนา คุณวัฒน์, 2519- . กระบวนการสื่อสารสาธารณะของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านเขื่อนปากมูล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|