ชื่อเรื่อง | : | บทบาทของ "เว็บไซต์อัญจารีดอทคอม" ในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง |
นักวิจัย | : | บุญญาภรณ์ วาณิชยชาติ, 2519- |
คำค้น | : | รักร่วมเพศ , อินเตอร์เน็ต , เว็บไซต์ , เลสเบี้ยน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พิรงรอง รามสูตร รณะนันทน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741703457 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/897 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การศึกษาเรื่อง บทบาทของ "เว็บไซต์อัญจารีดอทคอม" ในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของเว็บไซต์อัญจารีดอทคอมในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง ความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมในเว็บไซต์ รวมถึงลักษณะทางประชากรและสังคมของผู้ใช้เว็บไซต์ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ผลการวิจัยจากการสำรวจพบว่าการรับรู้ถึงลักษณะของมณฑลสาธารณะในเว็บไซต์ของผู้ใช้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตัวแปรด้านอายุ การยอมรับของครอบครัว (ในเรื่องของการเป็นหญิงรักหญิง) และความพึงพอใจของกลุ่มหญิงรักหญิงที่เปิดรับสารจากเว็บไซต์อัญจารีดอทคอมในปัจจุบัน กลุ่มหญิงรักหญิงที่เคยเปิดรับสารจากเว็บไซต์อัญจารีดอทคอมในอดีตแต่ปัจจุบันไม่ได้เปิดรับแล้วพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างลักษณะทางประชากรและสังคม การแสดงออกทางเพศ และความถี่ในการเข้าใช้เว็บไซต์กับการรับรู้ถึงลักษณะของมณฑลสาธารณะในเว็บไซต์ สำหรับการมีส่วนร่วมในเว็บไซต์ ผู้วิจัยพบว่าผู้ใช้มีส่วนร่วมในกระดานข่าวมากที่สุด จากการวิเคราะห์เนื้อหาในกระดานข่าวพบว่าหัวเรื่องที่พบมากที่สุดคือ ข้อความหรือบทความที่คัดมาจากหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรืออีเมล์ รองลงมาคือ การสนทนาตามหา ทักทาย หรือพูดคุยกับคนรู้จักในเว็บไซต์ และเหตุการณ์ทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นในสังคม ตามลำดับ ในส่วนของเว็บไซต์ในการเป็นมณฑลสาธารณะของเว็บไซต์ โดยวิเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกระดานข่าว พบว่าบทบาทการทำหน้าที่เป็นมณฑลสาธารณะค่อนข้างจำกัด และแสดงออกมาในรูปของพื้นที่กลางสำหรับการแสดงความคิดเห็นในเรื่องทั่วๆ ไป มากกว่าเป็นมณฑลสาธารณะในการสนับสนุนสิทธิหญิงรักหญิง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิหญิงรักหญิงมีเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่นำไปสู่การเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิหญิงรักหญิงอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากเหตุปัจจัยทางด้านผู้เข้าใช้ที่ยังขาดความตระหนักในเรื่องสิทธิหญิงรักหญิง การขาดเงินทุน และปัจจัยด้านตัวเว็บไซต์ที่ยังไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดความตระหนักในเรื่องของสิทธิจนเกิดเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวได้เท่าที่ควร |
บรรณานุกรม | : |
บุญญาภรณ์ วาณิชยชาติ, 2519- . (2544). บทบาทของ "เว็บไซต์อัญจารีดอทคอม" ในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญญาภรณ์ วาณิชยชาติ, 2519- . 2544. "บทบาทของ "เว็บไซต์อัญจารีดอทคอม" ในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญญาภรณ์ วาณิชยชาติ, 2519- . "บทบาทของ "เว็บไซต์อัญจารีดอทคอม" ในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. บุญญาภรณ์ วาณิชยชาติ, 2519- . บทบาทของ "เว็บไซต์อัญจารีดอทคอม" ในการเป็นมณฑลสาธารณะของกลุ่มหญิงรักหญิง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|