ชื่อเรื่อง | : | โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | พิสณฑ์ เกิดศิลป์ |
คำค้น | : | STRUCTURAL EQUATION MODELING , INTELLIGENCE QUOTIENT , EMOTIONAL QUOTIENT , EDUCATIONAL ACHIEVEMENT |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082546000569 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ(causal relationship) ระหว่างเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างของเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ (2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเชาวน์ปัญญาเชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (3) สร้างโมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญาเชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และ (4) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 960 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ (observed variable)24 ตัวแปร และตัวแปรแฝง (latent variable) 8 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดเชาวน์ปัญญาและแบบวัดเชาวน์อารมณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงมีค่าอยู่ระหว่าง 0.574 - 0.915 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 12.0และโปรแกรม LISREL for Windows version 8.54 สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงบรรยายการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทาง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญาระหว่าง 57.173 - 139.028 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ระหว่าง 63.327 -137.708 คะแนน โดยพบว่านิสิตสายวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญาและคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ที่สูงกว่านิสิตสายสังคมศาสตร์ และนิสิตชั้นปีที่ 4 หรือสูงกว่า มีคะแนนเฉลี่ยเชาวน์ปัญญาและคะแนนเฉลี่ยเชาวน์อารมณ์ที่สูงกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2และชั้นปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. กลุ่มตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ 23 ตัวแปรร่วมกันทำนายแต้มเฉลี่ยสะสม (GPAX) ซึ่งเป็นตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ร้อยละ 15.9 3. โมเดลโครงสร้างเชาวน์ปัญญาและโมเดลโครงสร้างเชาวน์อารมณ์ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า (+,c)('2) = 65.50, df = 24,p = 0.00001, GFI = 0.994, AGFI = 0.929, RMSEA = 0.042 และ RMR = 0.005 ตัวแปรสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ร้อยละ 1.3 5. โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตที่ศึกษาในสายการศึกษาและชั้นปีต่างกันมีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล |
บรรณานุกรม | : |
พิสณฑ์ เกิดศิลป์ . (2546). โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พิสณฑ์ เกิดศิลป์ . 2546. "โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พิสณฑ์ เกิดศิลป์ . "โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2546. Print. พิสณฑ์ เกิดศิลป์ . โมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา เชาวน์อารมณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2546.
|