ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร |
นักวิจัย | : | ศุกร์สุดา ปิ่นเฟื่อง, 2521- |
คำค้น | : | การลักลอบหนีศุลกากร--ไทย , การฟอกเงิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วีระพงษ์ บุญโญภาส , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759363 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/842 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา3(7) ประเด็นแรกคือปัญหาการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรได้แก่การนำเงินตราต่างประเทศเข้า/ออกนอกประเทศโดยฝ่าฝืนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นความผิดตามมาตรา 8 ทวิตามพ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 และฐานลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายศุลกากรอันจะนำไปสู่ความผิดมูลฐานนี้หรือไม่ เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายและในกระบวนการยุติธรรมยังมีความเห็นทางกฎหมายไม่สอดคล้องกันในการตีความกฎหมายดังกล่าวว่าหมายถึงการฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฯลฯใดๆ ที่ออกตามความในกฎหมายนี้หรือเฉพาะกฎกระทรวง ฯลฯ ที่เกี่ยวกับการนำเงินตราเข้า/ออกนอกประเทศโดยตรง ประการที่สองได้แก่ปัญหาว่าความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรนั้นรวมอยู่ในมูลฐานนี้หรือไม่เนื่องจากปัญหาการตีความฐานความผิดลักลอบหนีศุลกากรและฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรที่ยังแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อพิจารณาในการกำหนดให้ความผิดนี้เป็นความผิดมูลฐานด้วยหรือไม่อย่างไร ประการสุดท้ายคือศึกษาถึงข้อพิจารณาและความเหมาะสมในการกำหนดให้ความผิดฐานอื่นๆ ตามกฎหมายศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานร่วมกันหรือ ไม่อย่างไร วิทยานิพนธ์เสนอว่าปัญหาดังกล่าวอาจแก้ไขได้ดังนี้ ประการแรกควรควบคุมตรวจสอบการไหลเวียนเงินตราเข้า/ออกโดยให้มีการสำแดงรายการเงินตราต่อพนักงานขณะผ่านศุลกากรจึงควรเร่งผ่านร่างกฎกระทรวงเพิ่มเติมข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงฉบับ 13 (พ.ศ. 2497) เพื่อให้การฝ่าฝืนหรือละเลยถือเป็นความผิดตามม.8 ทวิ,ม.27 และเป็นความผิดมูลฐานนี้ นอกจากนี้หากประกาศใช้มูลฐานความผิดที่ 3(10) ความผิดนี้และความผิดตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินจะเป็นความผิดมูลฐานโดยตรงจะเกิดความชัดเจนในความผิดทางอาญาและสอดคล้องกับการกำหนดความผิดมูลฐานต่อไป ประการที่สองควรแก้ไขให้ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานหลีกเลี่ยงศุลกากรตามกฎหมายศุลกากรมีความชัดเจนในลักษณะและขอบเขตการกระทำแต่ละฐาน นอกจากนี้ควรกำหนดให้ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงินโดยกำหนดประเภทความผิดให้ชัดเจนและมีความเหมาะสม ประการสุดท้ายความผิดฐานอื่นๆ ตามกฎหมายศุลกากรในปัจจุบันนี้ยังไม่จำเป็นและไม่เหมาะสมที่จะกำหนดเป็นความผิดมูลฐานร่วมกับความผิดทั้งสองข้างต้น |
บรรณานุกรม | : |
ศุกร์สุดา ปิ่นเฟื่อง, 2521- . (2547). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุกร์สุดา ปิ่นเฟื่อง, 2521- . 2547. "ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุกร์สุดา ปิ่นเฟื่อง, 2521- . "ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ศุกร์สุดา ปิ่นเฟื่อง, 2521- . ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีการแก้ไขความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|