ชื่อเรื่อง | : | การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
นักวิจัย | : | อาวุธ วาจาสัตย์ |
คำค้น | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิต , ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา |
ปีพิมพ์ | : | 2533 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/779 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มเก่งมาก กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน การวิจัยครั้งนี้กระทำกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตชายหญิงชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เรียนวิชา Foundation English I ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2530 จำนวน 710 คน โดยแบ่งเป็นนิสิตกลุ่มเก่งมาก (ได้รับเกรด 4 ในการเรียนวิชา FE I) จำนวน 107 คน นิสิตกลุ่มเก่ง (ได้รับเกรด B) จำนวน 269 คน นิสิตกลุ่มปานกลาง (ได้รับเกรด C) จำนวน 309 คน และนิสิตกลุ่มอ่อน (ได้รับเกรด D) จำนวน 25 คน โดยในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2530 จำนวน 50 คน แล้วนำผลที่ได้มาหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยได้ค่าความเที่ยง 0.94 แล้วจึงนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เลือกไว้ หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามแล้วประมาณ 3-4 สัปดาห์ ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างที่เคยตอบแบบสอบถามมาแล้ว จำนวน 71 คน จากนิสิตทั้ง 4 กลุ่ม (คิดเป็นร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด) เพื่อทำการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ใช้การสุ่มอย่างง่าย ในการสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามฉบับเดิม โดยผู้วิจัยเป็นผู้อ่านคำถาม เฉพาะในตอนที่ 2 ของแบบสอบถาม และเป็นผู้บันทึกคำตอบของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากนั้นผู้วิจัยนำแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 71 คนทั้ง 2 ชุด มาคิดคะแทนตามเกณฑ์แล้วนำคะแนนรวมของทั้งสองชุด มาหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์และได้ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ เท่ากับ 0.91 ซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามมีความเที่ยงสูง หลังจากทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 710 คน ตอบไว้แล้วมาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้ง 4 กลุ่ม โดยการทดสอบความมีนัยสำคัญของความแปรปรวนโดย f-test ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 1.1 กลวิธีการเรียนภาษาที่นิสิตนำมาปฏิบัติมากที่สุด คือ กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ 1.2 กลวิธีการเรียนที่นิสิตนำมาปฏิบัติปานกลางคือกลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง กลวิธีการฝึกฝนภาษา กลวิธีการหาวิธีการเรียนภาษาอังกฤษที่เป็นของตนเอง กลวิธีการใช้ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียนภาษาเป็นครู และกลวิธีการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถจดจำได้ดียิ่งขึ้น 1.3 กลวิธีการเรียนที่นิสิตนำมาปฏิบัติน้อย คือ กลวิธีการพยายามใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น 2. การเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสตชั้นปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มเก่งมาก กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน 2.1 กลุ่มเก่งมากและกลุ่มเก่งใช้กลวิธีการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งหมด 4 ข้อ จากกลวิธีการเรียนทั้งหมดจำนวน 71 ข้อ โดยใช้ 4 ข้อนี้ เป็นกลวิธีการเรียนด้านที่ 4 (หาวิธีเรียนเป็นของตนเอง) 2 ข้อ เป็นกลวิธีพยายามใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น 14 ข้อ และเป็นกลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ 1 ข้อ 2.2 กลุ่มเก่งมากกับกลุ่มปานกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการและกลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง ตามลำดับ 2.3 กลุ่มเก่งมากกับกลุ่มอ่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ และกลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง ตามลำดับ 2.4 กลุ่มเก่งกับกลุ่มปานกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับแรก กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ รวมทั้งกลวิธีการใช้ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียนภาษาเป็นครู เป็นลำดับต่อมาร 2.5 กลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการ และกลวิธีการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น ตามลำดับ 2.6 กลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช้กลวิธีการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยตรง และกลวิธีการเดาหรือทำนายอย่างมีหลักการตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
อาวุธ วาจาสัตย์ . (2533). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาวุธ วาจาสัตย์ . 2533. "การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาวุธ วาจาสัตย์ . "การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533. Print. อาวุธ วาจาสัตย์ . การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2533.
|